EasyMop-360-degree

EasyMop – 360 degree three spinning system metal – อีซี่ม๊อบ ถั่งปั่นไม้ถูพื้น เหล็ก 360 องศา 3 ระบบ คุ้มค่า

จัดมารีวิว ตามคำเรียกร้องครับ จากสองเรื่องที่แล้วที่ผมได้ของมาจาก คลองถมเซ็นเตอร์ ในตอนแรกผมกะจะไม่รีวิวเรื่องนี้แล้ว เพราะในเว็บมันเต็มไปหมดแล้ว แต่จากการเรียกร้องของแฟนๆที่ติดตามผลงาน 5555 จึงรีบไปเอามาถ่ายก่อนที่จะโดนใช้งาน แต่เชื่อหรือไม่ รีวิวครั้งนี้ เป็นรีวิวที่ผมคิดว่า มีจำนวนภาพมากที่สุดในเว็บอีโวโพลิส แห่งนี้ และเป็นการรีวิวถังปั่นที่มีจำนวนภาพมากที่สุดในโลกด้วย ฮ่าๆ คิดเว่อร์ๆว่าอย่างน้อย บทความและภาพในนี้จะเป็นประวัติศาสตร์อ้างอิงในอนาคตได้

การ “ปฎิวัติวงการถูพื้นโลก” , ย้อนไปถึงถังปั่นชนิดนี้นิดนึงครับ ประมาณ 10 ปีก่อน ถังปั่นปรากฎตัวครั้งแรกในรายการขายของ Direct Sale ทาง TV (พวก โอ๊ว จอร์จ มันยอดมาก) คาดว่าน่าจะเป็น สหรัฐอเมริกาก่อน หรือเรามักจะเห็นโลโก้ “As seen on TV” บ่อยๆ นั่นคือสินค้ามีเอกลักษณ์และคุณสมบัติใหม่ๆ แต่ยังไม่แพร่หลาย และใช้วิธีโฆษณาทางทีวีเป็นหลัก, สินค้าจากทีวีพวกนี้ ผมไม่มีความมั่นใจเลย และไม่มีความคิดจะซื้อ. แต่ในที่สุด ถั่งปั่นม๊อบ 360 องศา (Mop Spinner, 360 degree Spin Mop, Microfiber Spin Mop, Rotating Mop) ก็เป็นสินค้าที่กลายเป็นของยอดนิยมแพร่หลายมากๆ เพราะมันมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหา เมื่อเทียบกับอุปกรณ์แบบเดิมๆได้จริงๆ.

ในประเทศไทย มีการนำเข้าถังปั่นชนิดนี้มากมายหลายรุ่นครับโดยมีการเรียกชื่อตั้งชื่อกันต่างๆนาๆ เช่น ถังปั่นไม้ถูพื้น, ถังเหยียบ, ถังหมุนถูพื้น, ถังปั่นแห้ง, Spin Mop, ถังปั่น 360 องศา, ม็อบหมุน, ม็อบปั่น หรือ ม๊อปหมุนได้ เป็นต้นครับ. ถังใบที่เอามารีวิวนี้เป็นใบที่สามของที่บ้านครับ แต่ยังไม่ได้ใช้ เพราะใบที่สอง (คนละยี่ห้อ) เพิ่งซื้อมาไม่นาน. และผมจะไม่ถ่ายภาพมาเพื่อเปรียบเทียบกันนะครับ เกรงว่าจะกระทบกระเทีอน กัน.

เพราะคุณสมบัติที่มีประโยชน์ ที่ดีกว่า การใช้มือ หรือไม้ม๊อบแบบเดิมๆ อันได้แก่ คุณไม่ต้องใช้มือบิด คุณไม่ต้องเปียกน้ำขณะถูพื้น ลดปัญหาหลักๆในการถูพื้นแบบเดิมๆ เช่น ก้มๆ เงยๆ, หน้ามืด, คลานพื้น, ปวดคอ, ปวดแขน, ปวดหลัง, ปวดข้อมือ, ปวดเข่า, ปวดกระดูก, นิ้วล๊อค, เอ็นยึด, ใช้มือสำผัสน้ำสกปรกเพราะต้องซักผ้าบิดผ้า, ฯลฯ อีกทั้ง การซักและปั่นหมาดทำได้ดีกว่ามือคนแน่ๆครับ ในที่สุด การเช็ดพื้นจึงใช้เวลาน้อยกว่าเดิมมาก, สะอาดทั้งพื้นและตัวคนใช้ และไม่ลำบาก หรือ สร้างปัญหาสุขภาพในระยะยาว บางคนถึงกับบอก ใช้แล้วชีวิตเปลี่ยนไปเลยทีเดียว ใครได้ลองใช้แล้วผมรับรองว่าจะไม่อยากกลับไปใช้วิธีเดิมๆอีกเลยครับ.

เรามาชมไปด้วยกันเพลินๆครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-01

กล่องดูดี ภาพสวยงาม ครับ ระบุ EasyMop อีซี่ม๊อบ ไม่ถูพื้นง่ายๆ ตัวใหญ่ๆ  ตราช้าง

 

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-02

 

หน้ากล่องสวยงามใช้ได้ เน้นตรงขาเยียบ ที่เป็นโลหะ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-03

หลังกล่อง เป็นอุปกรณ์ ส่วนประกอบ โชว์ถังปั่นแบบเหล็ก พร้อมรายละเอียดคุณสมบัติต่างๆ
ที่เค้าเรียกว่า 3 ระบบปั่น คือ เหยียบปั่นหมาด, เหยียบปั่นซัก และ ใช้มือกดไม้เพื่อปั่นหมาดและปั่นซักได้ไม่ต้องใช้ขาเหยียบ

มีคำถามว่า แล้วถ้ามีถัง 1 ระบบ (มีปั่นหมาดอย่างเดียว) หรือ 2 ระบบ (ปั่นหมาด+ปั่นซัก) อยู่ แล้วจะเอาไม้แบบนี้ไปใช้ได้กันหรือไม่
คำตอบคือ ต้องดูที่ถังคุณก่อนครับ, ตะแกรงปั่นหมาดอาจจะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับแรงกดจากไม้, และตัวปั่นซักถ้าเป็นแบบหมุนไป-กลับ (ถ้าเยียบกดจะหมุดไปด้านหนึ่งเมื่อปล่อยขาจะหมุดกลับ) จะใช้ไม่ได้ครับ เพราะระบบไม้กดตัวซักจะต้องหมุนไปทางเดียวเสมอ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-04

ด้านข้างโชว์คุณสมบัติเด่นๆ เช่น ถังเหล็กทนทาน ถูกได้หลายแนว หลายมุม ถอดเปลี่ยนหัวผ้าง่ายดาย

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-06

ฝากล่องด้านในครับ มีรายละเอียด คุณสมบัติ และ วิธีใช้

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-07

เชิญทัศนาครับ อ่านไม่ไหว มันเยอะ และภาษาก็แปลกๆ ไม่ต้องสงสัยว่ามาจาก จีน ครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-08

วิธีใช้ เยอะครับ อ่านแล้วก็ งงๆครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-09

แกะกล่องครับ เรียบง่าย ไม่มีกันกระแทกใดๆ คิดว่า คงจะไม่น่ามีอะไรแตกหัก ถ้าไม่กระแทกรุนแรงจริงๆ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-10

สิ่งที่มีอยู่ในกล่องคือ ตัวถังปั่น หัวม๊อบผ้าสองชุด ไม้ม๊อบแยกส่วนสองแท่ง หัวประกบผ้า และ คู่มือ 1 แผ่น

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-11

คู่มือครับ คงเป็นสำหรับคนละรุ่นกัน เพราะในรูปมีหูกลมๆในรูปแรก จากที่อ่านๆก็ไม่เห็นจะใช้ประโยชน์อะไร

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-12

อีกหน้าหนึ่ง ก็จะมีวิธีใช้ ค่อนข้างละเอียดเป็นรูปภาพ และข้อควรระวังหลักๆคือ ห้ามเด็กเล่น หรือ ตากแดดโดยตรง

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-14

นี่ครับ พระเอก ของเราคือ อุปกรณ์ในส่วน ตัวไม้ถูพื้นครับ ก้านไม้จะแบ่งเป็นสองส่วน แค่หมุนต่อกันให้แน่นเท่านั้นครับ
หลายคนถามกันมา แล้วก็เห็นมีการค้นหา กันมาก ว่า แล้วจะประกอบไม้อย่างไร? เลยขออธิบายเพิ่มเติมว่า รุ่นที่เอามีรีวิวนี้
ท่อนกลาง (ในรูปซ้ายมือสุด) จะมีด้านหัวเป็นเกลียวตัวผู้ให้หมุนต่อกลับไม้ท่อนปลายที่เป็นเกลียวตัวเมีย ส่วนอีกด้านจะไม่มีเกลียว เอาไว้ต่อกับหัวผ้าครับ

ด้ามซ้ายมือสุดมันจริงๆแล้วจะเป็น 2 ท่อนครับ อีกท่อนมันสวมอยู่ข้างใน เพื่อใช้ในการยืดหดเวลากดปั่นได้

ยี่ห้ออื่นๆอาจจะไม่เหมือนกัน แต่เท่าที่เห็นคือท่อนกลางมีเกลียวตัวผู้ข้างนึง เราก็ลองดูครับว่าท่อนปลาย หรือหัวมีเกลียวตัวเมีย แค่นั้นครับEasyMop-360-degree-three-spinning-system-19

ส่วนหัวของไม้ (ตัวประกบหัวผ้า) ก็เสียบแล้วหมุนตัวล๊อกให้แน่น

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-15

ตัวหัวผ้า ก็เป็นแป้นชิ้นเดียว ร้อยด้วย ผ้าแบบเส้นๆ นุ่มๆรอบตัว มีรูตรงกลางไว้ล๊อกประกบกับหัวไม้ม๊อบ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-16

เส้นของผ้า ใหม่ๆจะ ฟูฟ่องและนุ่มมากๆครับ ตามคุณสมบัติที่โฆษณาเอาไว้ คือจะเป็น ใยไมโครไฟเบอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติ ดักฝุ่น และเช็ดสิ่งสกปรกจากพื้นผิวได้ดี
ใยแบบนี้ ก็เหมือนกับผ้าไมโครไฟเบอร์ทั่วๆไปครับ ซึ่งผมยืนยันได้ว่า เช็ดแล้วพื้นสะอาดได้จริง

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-17

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 12 นิ้ว ตามภาพผมลืมแผ่ ผ้าออกมาให้เต็มๆ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-18

การประกบง่ายมาก แค่เล็งให้ตรงแล้วกดให้ดังแป๊ก

 

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-20

ส่วนหัว กับตัวไม้ สามารถ บิดเอียงได้ เพื่อประโยชน์ในการเช็ดพื้นที่ๆเป็นซอกมุมต่ำ หรือฝาผนัง

 

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-21

เมื่อดัดไม้ตรงมันจะล๊อกให้นิ่งและตรง เพื่อสำหรับตอนนำไปปั่น

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-22

เมื่อประกบแล้ว ใต้ผ้าจะทำบริเวณตรงกลางอย่างหนามากเป็นพิเศษ เพราะป้องกันแป้นตรงกลางไปขูดขีดพื้นผิวที่จะถู

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-23

วางแผ่ออกมาแล้วครับ ประมาณ 1 ฟุต พอดี, เนื่องจากเป็นถังปั่นแบบกดที่ตัวไม้ได้เลย มันจึงมีตัวล๊อคก้านให้ยืด/หดได้ครับ จะเห็นตรงกลางของไม้จะมีแง่งตัวจับสำหรับหมุนเพื่อ ล๊อก/ปลดล๊อค การยืดหดของไม้

ทิป สำหรับการใช้เล็กน้อยคือ จะวางผ้าแผ่ออกมาแบบนี้ได้ คือ หลังจากปั่นเสร็จขณะกำลังหมุน ก็ยกออกมาวางกับพื้นขณะมันกำลังหมุนเลย มันจะแผ่แบบนี้

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-24

มาถึง นางเอก ของเราครับ ถังปั่น รูปทรงชะอ้อนชะแอ้น นวลเนียนไปทั้งตัว ทีเดียวครับ, จุดสำคัญของใบนี้คือ ตัวตระแกรงปั่นหมาด เป็น สแตนเลส ครับ
จริงๆแล้วไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะจากที่เคยใช้งานมา ตระแกรงปั่นแห้งแบบพลาสติก มันก็ไม่เคยเสียหายครับ
แต่ผู้ขายบอก ถ้าเป็น สแตนเลส มันจะ ทนกว่า ปั่นเร็วกว่า และแห้งกว่า, ผมก็ว่าอาจจะเป็นไปได้ เพราะมันอาจจะช่วงเรื่องแรงเหวี่ยงก็เป็นได้

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-25

รูปทรงสวยงาม แบบอวบอิ่มระยะสุดท้าย 555 คล้ายทรงขาช้าง เพราะมีขากันกลิ้งตรงฐาน และมาพร้อมหูหิ้วแข็งแรงดีมาก
พลาสติกโดยรวมแล้วดีมากครับ คิดว่าทนทานแน่นอน ถ้าใช้ตามวิธีที่ถูกต้อง ไม่สมบุกสมบันเกินไป

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-26

ความกว้างประมาณ 1 ฟุ๊ต ครับ, รุ่นนี้จะมีหัวปั่นสองหัว คือ ตัวปั่นหมาด และ ตัวปั่นซัก ในน้ำ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-27

ตัวปั่นซักในน้ำครับ ถ้ารุ่นที่ไม่มีตัวนี้ จะซักหัวม๊อบ ก็ต้องใช้วิธีจุ่มๆเขย่าๆ ซึ่งสิ่งสกปรกมันจะไม่ค่อยหลุด เท่ากับใช้ตัวปั่นนี้

สังเกตุว่า เค้าจะมี สติกเกอร์บอกระดับสูงสุดที่จะใส่น้ำ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-28

สาเหตุที่ใส่น้ำเยอะมากเกินไปไม่ได้ เพราะเราไม่ควรเติมน้ำสูงเกินระดับแกนถังปั่นหมาดครับ ก็คือประมาณ 60% จากก้นถัง
จากรูปข้างบนเราจะเห็นแกนที่โผล่ขึ้นมา มันจะมีซีลยางอยู่ ใช้ไปนานๆมันอาจจะรั่วได้ ถ้าไม่โดนน้ำอายุมันจะยาวขึ้นครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-29

ชัดๆครับ กับตระแกรงสแตนเลส ผู้ขายอ้างว่ามันจะปั่นสลัดน้ำออกได้ดีกว่าพลาสติก (แต่จากการทดสอบ ไม่รู้สึกถึงผลที่แตกต่างกัน)
และ แข็งแรงกว่า พลาสติก (อันนี้แน่นอนเพราะคงยากที่จะหักได้ แต่ แบบพลาสติกที่เคยใช้มันก็ไม่เคยเสียตรงจุดนี้เลย)

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-30

สังเกตุที่หัวจับผ้าปั่นครับ รูปแบบนี้ หากเวลาเราจะหาซื้ออะหลั่ย เช่น ไม้ม๊อบอันใหม่ จะใช้กับถังเราได้หรือไม่ ต้องดูรูปร่างของหัวนี้ด้วยครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-31

ส่องกล้องต่ำลงมาเราจะเป็นจุดเด็ดที่สุดของ ถังปั่นถูพื้น ใบนี้คือ ขาเหยียบครับ จะเห็นว่าเป็นโลหะดูมั่นคงแข็งแรงมากทีเดียว
ปัญหาอาการเสียอันดับหนึ่ง สำหรับถังปั่นม๊อป คือ ขาเหยียบ ครับ มันจะหักง่ายมากๆ ใบเก่าของที่บ้านผมเป็นพลาสติก
ถ้าใช้ไม่รักษาไม่ให้ความสำคัญในการเหยียบ หรือ ไม่เคยใช้แล้วใช้ผิดๆ มันจะหักอย่างแน่นอนครับ, ใบที่ผมซื้อใหม่ถัดๆมาจะมองตรงนี้ก่อนเพื่อนเลย คือต้องเป็นโลหะเท่านั้นครับ
ภาพด้านๆล่างๆผมจะมีวิธีที่ทุกท่านจะต้องนำไปใช้ให้ถูกวิธีครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-32

ตัวขาเหยียบเป็นเหล็กสีเงินเงา คิดว่าน่าจะเป็น อลูมิเนียมอัลลอยด์ และฐานจะเป็น สเตนเลสขัดลาย

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-33

น่าจะแน่นอนว่าเป็น อลูมิเนียมอัลลอยด์ ขึ้นรูปครับ พร้องสปริงเหล็กดีด สเตนเลส

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-34
น่าเสียดายเล็กน้อยที่ เฟืองต่างๆน่าจะทำให้เป็น โลหะทั้งหมดไปเลย (เค้าคงกลัวมันจะทนทานนานปีเกินไปจนไม่ต้องซื้อเค้าอีกมั๊ง)

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-35

แป้นเหยียบจะยึดกับแกนขับเฟืองหลัก (ด้านขวา) เพื่อไปขับกับเกียร์ สองชุด สำหรับปั่นหมาดและปั่นซัก

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-36

สังเกตุตรงเฟืองจะต้องหล่อด้วย จารบี จำนวนพอสมควร ครับ แต่เดี๋ยวก่อนครับ ใครที่คิดว่าจะเติมจารบีเอาเองนั้น จารบีที่ใช้กับถังปั่นนี้ ให้ใช้ จารบีชนิดที่ใช้กับพลาสติกได้ ด้วยนะครับ อย่าไปใช้จารบีสำหรับโลหะเช่นลูกปืนหรือเครื่องยนต์ เพราะมันจะมีสารบางตัวกัดกร่อนฟันเฟืองพลาสติกให้เสื่อมสภาพหรือละลายได้ครับ

Super-Lube-Synthetic-Grease-PTFE

นี่คือ ตัวอย่าง หน้าตาของ จารบีสังเคราะห์ ประจำบ้านของผมครับ ผมใช้ยี่ห้อนี้มานานใช้ได้หมดทุกอย่างในบ้านเลย หลอดนึงใช้เป็นสิบปี แต่สำหรับพวกโลหะที่ต้องใช้เยอะๆผมจะใช้แบบกระปุกธรรมดาๆเพราะมันถูกกว่าเยอะ
ส่วน จารบีสำหรับพลาสติก มีขายทั่วไป ไม่ได้แพงเหมือนหลอดนี้นะครับ ลองสอบถามร้านขายจารบีดูครับ โดยเฉพาะ ร้านอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ หรือร้านของเล่นบังคับวิทยุ จะมีแน่นอน ต้องเน้นคนขายว่า จารบีขาว ชนิดสำหรับพลาสติก ปกติเค้าเอาไว้ใส่ในเฟืองพลาสติกในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
EasyMop-360-degree-three-spinning-system-37

มาดูด้านใต้ครับ น๊อตยึดแท่นเครื่องเป็นสเตนเลส ขาทั้งสี่ฐานกว้างรองด้วยแผ่นยางกันลื่น

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-38

หลังจากใช้งานเสร็จ ล้างน้ำเปล่าทุกครั้ง เพื่อล้างน้ำยาเช็ดพื้นทิ้งไป และแนะนำให้ตั้งเอาแป้นเหยียบลงพื้นแบบนี้ครับ ถ้ามีน้ำที่หลุดรอดลงในแท่นเครื่องหลงเหลือค้างคาอยู่ จะได้ไหลออกมาโดยเร็ว

ต่อจากนี้เป็น วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-39
ตอนจะประกบไม้กับผ้า จับแป้นให้ตรงแล้วประกบกัน

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-40
ใช้เท้า เหยียบด้านข้างของแป้นเบาๆ ให้เสียงดัง แป๊ก

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-41

ลองเหยี่ยบอีกข้าง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าที่แล้ว แค่นี้ก็พร้อมใช้งานครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-42

เวลาถอดผ้า ให้ใช้เท้าเหยียบเฉพาะผ้าโดยตั้งก้านให้ตรงกับแกนจุดพับของก้าน ตามภาพ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-43

ดันก้านออกไปทางข้างลำตัว ผ้าจะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย
จริงๆแล้วเราไม่ต้องถอดบ่อยๆครับ จะถอดก็ต่อเมื่อ จะเปลี่ยนผ้าที่เสื่อมแล้วเป็นอันใหม่เท่านั้น

 

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-44

จุดที่ต้องระวังมากที่สุด โดยเฉพาะใครมีรุ่นแป้นเหยียบ พลาสติก,  ห้ามวางขอไม่ตรงแนวแป้นเหมือนในภาพ เพราะน้ำหนักจะลงแป้นไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้แป้นหักหรือระบบเฟืองเอียงแล้วรูด

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-45
ที่ถูกต้อง จะต้องวางเท้าตรงแป้นเหยียบตรงๆ เช่นในภาพที่แสดง

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-46

ควรเหยียบให้เต็มอุ้มเท้าขชองเราแบบในภาพครับ

การเหยียบไม่ควรเหยียบให้น้ำหนักพอเหมาะ ไม่เหยียบแรง หรือ เร็ว จนเกินไป เพราะจริงๆแล้ว เฟืองในแท่นเครื่องออกแบบมาทดรอบให้ปั่นได้เร็วอยู่แล้ว
ถ้าเหยียบเร็วและแรงบ่อยๆจะทำให้เฟืองหักและรูดได้

 

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-47

ทดลองการหมุนครับ, จริงๆแล้วเวลาใช้จริงผ้าเปียกน้ำจะใส่ลงไปพอดีๆกับตระแกรงเหล็กเลย ไม่แลบแบบนี้

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-48
แค่เหยียบเบาๆช้าๆ มันก็ปั่นเร็วมากครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-49
อันนี้เร็วมากจริงๆครับ ตัดปัญหา บิดผ้าไม่แห้งพอ เพราะเมื่อยมือปวดแขน  เช็ดพื้นแล้ว พื้นยังคงเปียกแฉะและยัง ลื่นอยู่ นาน

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-50

ในการเหยียบ ทั้งสองหัวปั่นจะหมุนไปด้วยกัน แต่ ถังปั่นหมาดมันจะหมุนฟรี เพื่อสลัดน้ำออกจากผ้าให้ได้มากที่สุด แต่หัวปั่นซักมันจะหมุนหยุดแต่ได้น้ำหนักแรงในการสบัดผ้าในน้ำ
หมดปัญหาที่จะต้องเอามือของคุณเข้าไปจุ่มน้ำสกปรก แล้วต้องขยำๆถูๆ หรือใช้ม๊อบระบบเดิม ที่ต้องเอาไม้จุ่มๆเขย่าๆแกว่งๆ น้ำกระเซ็น

ส่วนเรื่องจะปั่นให้แห้งหรือหมาดขนาดไหน ก็แล้วแต่คนชอบครับ ทดลองใช้ไปเรื่อยๆจะลงตัว เดี๋ยวก็หาจุดที่เหมาะสมได้เองครับ

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-51
ไม่ถูพื้นแบบนี้ มันงอทำมุมได้ ทำให้เช็ดใต้ที่ต่ำๆได้ง่าย

EasyMop-360-degree-three-spinning-system-52

บ่องตง..ง่ายจริงไรจริง

—-
ภาพหมดลงแล้ว ได้ลองนับกันใหมครับว่ากี่ภาพ ไม่น่าเชื่อเลยสำหรับการรีวิว แค่ ถังปั่นถูพื้น ไร้ที่มา ฮา…

สำหรับ ถังชุดนี้  ผมซื้อมาในราคา แค่ 1,190 บาท จาก แถวคลองถม (เดินๆเอาครับมีหลายร้าน หลายแบบ หลายราคา หลายยี่ห้อบนกล่อง) รุ่นนี้สำหรับร้านที่ผมซื้อเหลือสองตัวจึงคิดว่าหมดแล้ว และต้องเข้าใจว่าราคาแบบนี้มันจะไม่มีการรับประกันใดๆนะครับ, และมันน่าเหลือเชื่อที่มันเหมือนกับใบที่เพิ่งซื้อมาจากห้าง เป็นของมียี่ห้อ ระดับท๊อบ 3 ถังปั่นในไทย และกำลังใช้อยู่ที่บ้านเลยครับ ต่างกันที่เป็นตระแกรงพลาสติกเท่านั้น นอกนั้น ไม่ว่า ตัวถัง ขาเหยียบเหล็ก รูปแบบ คิดว่ามาจากโรงงานเดียวกันแน่ๆเพราะโมลแม่แบบเดียวกันเป๊ะๆ เปลี่ยนอะหลั่ยทุกชิ้นแทนกันได้เลย แต่ใบนั้นซื้อมาจากห้างในราคาที่โปรโมชั่นพิเศษ 1,350 บาท (จากประมาณ 1590) ซึ่งอย่าด่วนสรุปว่าไม่ดีเพราะแพงกว่านะครับ เพราะถ้าซื้อในห้าง และแบรนด์ที่เชื่อถือได้จะมี บริษัท นำเข้าเป็นหลักแหล่ง ที่คอยรับประกันให้เราครับ  มันโอกาสใช้ผิดวิธีและทำให้เสียหายได้สูง (ผมคิดว่าเกิน 60-70% คนใช้จะไม่เข้าใจและจะใช้ผิดวิธีแล้วทำให้ขาเหยียบหัก หรือเฟืองรูด) โดยเฉพาะคนที่เพิ่งใช้เป็นครั้งแรก ผมจึงแนะนำให้หาซื้อในห้างแม้แพงกว่าแต่เพราะเรื่องประกันนี่แหละครับ.

ข้อเด่น

  • ขาเหยียบเป็น โลหะ แข็งแรง
  • เป็นแบบ สองหัวปั่น คือ ปั่นหมาด(แห้ง) และ ปั่นซัก
  • ไม้ สามารถใช้วิธีกด เพื่อปั่นโดยไม่ต้องใช้ขาเหยียบ
  • ส่วนที่ปั่นหมาดเป็นตระแกรงเหล็ก
  • วัสดุ พลาสติดตัวถัง ตัวบอดี้ ไม้ คุณภาพดี
  • ขนาดของ ม๊อบเป็นมาตรฐาน หาซื้อใหม่ได้ทั้ง ด้ามและผ้า ได้ง่าย
  • ราคาถูก เมื่อเทียบกับของที่อื่นๆ

ข้อด้อย

  • ราคานี้ ไม่มีประกัน
  • ระบบกลไกลฟันเฟืองยังคงเป็นพลาสติก (ยังมีความเสี่ยงเรื่องเฟืองรูดอยู่)

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรให้เด็กเล่น
  • เพื่อยืดอายุการใช้งาน ควรศึกษาวิธีการเหยียบที่ถูกต้อง
  • จารบีที่จะใช้บำรุงรักษา จะต้องเป็น จารบีสำหรับพลาสติก เท่านั้น

 

ในปัจจุบัน คุณจะหาซื้อถังปั่นแบบนี้ได้มากมายหลายแบบให้เลือกครับ ทั้งที่มียี่ห้อ และไม่มียี่ห้อ เพราะดูเหมือนมันกำลังจะกลายเป็น อุปกรณ์มาตรฐานในการถูพื้นเมืองไทย แล้วนะครับ
ถ้าคุณกำลังจะต้องเปลี่ยนไม้ถูพื้นใหม่ หรือ คุณเกิดอาการทางสุขภาพเนื่องมาจากการถูพื้น แล้วละก็ ผมขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งครับ ราคาเท่าที่เห็นเริ่มต้นรุ่นธรรมดาทั่วๆไปก็ 300-400 บาทไปจนถึง 1,000-2,000 บาท อีกทั้งยังเคยเห็นรุ่นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าช่วยปั่นอีกด้วยนะครับ เข้าใจครับเรื่องการเปลี่ยนทัศนคติการใช้ของกับ คุณแม่บ้านพ่อบ้าน บางท่านจะยังยากอยู่ ยิ่งของที่แปลกและแพงกว่าเดิมยิ่งยาก แต่ด้วยการลงทุนแค่นี้สำหรับการลดปัญหาการบาดเจ็บของสุขภาพ ในระยะยาว ขอให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จิ้บจ้อยจริงๆครับ. แม้ว่าคุณจะไม่ได้เช็ดถูพื้นเอง เพราะมีพนักงานทำความสะอาดที่บ้าน ก็ยิ่งควรให้ใช้ครับ เพราะเค้าจะได้เอาพลังงาน, เวลา ไปทำงานอย่างอื่นๆให้เราดีกว่า แถมเรื่องสุขภาพด้วยครับ.

สำหรับคะแนน ผมขอหักเรื่องไม่มีประกัน 1 คะแนนครับ

—-

รีวิวอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

kit
Author: kit

6 thoughts on “EasyMop – 360 degree three spinning system metal – อีซี่ม๊อบ ถั่งปั่นไม้ถูพื้น เหล็ก 360 องศา 3 ระบบ คุ้มค่า

    1. หมายถึงประกอบตัวไม้ถู หรือครับ ต้องขออภัยที่ไม่ได้ถ่ายตอนประกอบมา แต่ตามรูปนะครับ ไม้มีสามชิ้น
      http://www.evopolis.com/wp-content/uploads/2013/05/EasyMop-360-degree-three-spinning-system-14-512×768.jpg
      อันซ้ายมือ อันแรกจะเป็นท่อนกลาง จะเห็นว่า ปลายด้านนึงเป็นเกลียว อีกด้านไม่มีเกลียว หมายความว่ามันจะบังคับเราอยู่แล้วครับว่าด้านไหนเสียบกับชิ้นไหนผม
      ทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่เคยใช้มา ก็เหมือนกันเลยครับผม

      สวัสดีครับที่มาเยี่ยมชม และออกความคิดเห็นครับผม

  1. รีวิวได้ละเอียด ลำดับขั้นตอนนำเสนอ สาระ การใช้ภาพประกอบ และถ้อยคำทีใช้ก็ดีมาก ได้ปย.มาก ขอบคุณมากๆครับ

    1. ไปชั่ง ไม้ที่ผมมีหลายๆรุ่น มานะครับ
      น้ำหนักตอนแห้ง ประมาณ 750-900 กรัม ครับ
      ถ้าตอนเปียก น่าจะประมาณ กิโลนิดๆ

ส่งความเห็นที่ nud ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *