Evo Wallet – Easy to use Personal Money Tracker for Mobile – อีโว วอลเล็ต – โปรแกรมบันทึกการเงิน รับจ่ายโอน บนมือถือ สุดแสนจะใช้ง่าย

คิดอยู่นานเหมือนกันครับ ว่าจะเขียน บทความนี้ดีไหม เพราะไม่แน่ใจว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนหรือไม่ แต่ก็ตัดสินใจแล้วเพื่อมาแนะนำ ให้พอเป็นไอเดียแก่คนที่สนใจใช้โทรศัพท์มือถือ ให้ เกิดมูลค่าและเพิ่มความคุ้มค่า มากกว่าโทรเข้าออก ฟังเพลง แชต เฟสบุ๊ค ไอจี ไลน์ ส่งสติกเกอร์ หรือ เล่นเกมส์

รีวิวบทความนี้เป็นโปรแกรมสำหรับมือถือ ครับ เป็นระบบ บันทึกการเงิน ส่วนบุคคล เช่น บัญชี รายรับ รายจ่าย การโอน ค่าใช้จ่าย เงินฝากในบัญชี งบการใช้เงิน เป็นต้น ภาษาอังกฤษ เค้าใช้กันหลายคำ เช่น Expense Tracker, Money Tracker, Money Control, Account manager, Book Bank,Cash Book, Account book, Money Book เป็นต้น
ปกติแล้ว ผมจะพกแค่มือถือครับ อย่างอื่นๆเช่น iPad/Tablet ไม่ค่อยจะพก เพราะชอบเดินตัวปลิวไม่อยากมีภาระหิ้วหรือแขวนถ้าไม่จำเป็น ทีนี้มือถือผมจะต้องมีโปรแกรมประเภทการบันทึก รายรับและค่าใช้จ่าย ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นมือถือของผมคงไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เพราะผมไม่ค่อย แชตหรือเล่นเกมส์. โปรแกรมบันทึกการเงินผมก็ใช้ฟรีบ้างซื้อบ้างครับ ใช้มาตั้งแต่สมัย โนเกียซิมเบียน แอนดรอยด์ (ทั้งแบบ native หรือ java) หรือพวกเวปเก็บการเงิน แต่มันไม่เคยตรงใจสักตัว คือหมายความว่าคุณสมบัติแต่ละตัว  มันขาดๆ เกินๆ กับความต้องการใช้งานของผม แต่ทำไงได้ครับ ก็ต้องพยายามปรับตัวให้ใช้ไปให้ได้ขอให้เก็บข้อมูลได้ถูกต้องไม่ตกหล่นก็พอ

ในวันนี้ เมื่อวันเวลาอันเหมาะสมมาถึง โปรแกรม Evo Wallet (อีโว-วอลเล็ต) แอปฯบันทึกการเงิน บริหารจัดการเงิน ส่วนบุคคล สำหรับมือถือ ตัวใหม่ล่าสุดของโลก ก็ได้ออกมาให้ใช้งานกันครับ

ในเวอร์ชั่นขณะที่ทำบทความนี้ มีให้ใช้ได้ ในระบบ

:: รุ่น พรีเมี่ยม :

  • Apple iOS 6, iOS 7, iOS 7.1, iOS 8, iOS 9, iOS10  (iPhone / iPad/ iPod touch)
  • Android 2.3 ขึ้นไป (2.3, 4.X, 5.X Lollipop, 6.X Marshmallow)
  • จอภาพขนาด 320×480 ขึ้นไป

:: รุ่น ฟรี ไม่มีหมดอายุ :

  • Android 2.3 ขึ้นไป (2.3, 4.X, 5.X Lollipop, 6.X Marshmallow)
  • Nokia X / X+ / XL และ X2 ทุกรุ่น
  • Amazon’s Kindle Fire ทุกรุ่น
  • Amazon’s Fire Phone ทุกรุ่น
  • Amazon’s Fire HD / HDX ทุกรุ่น
  • จอภาพขนาด 320×480 ขึ้นไป

และสำหรับ ระบบปฏิบัติการอื่นๆ

– สำหรับ Blackberry OS 10.3 ในไม่ช้าคุณสามารถ download EvoWallet ได้จาก Amazon App Store ครับ
– สำหรับ Windows Phone ยังไม่กำหนดปล่อยครับ

เริ่มถึงแรงบันดาลใจกันก่อนนะครับ

สิ่งที่ตัวผมคิดว่า มีความไม่พอดีๆที่เกินๆขาดๆไปในแอพต่างๆที่ผมเคยโหลดมาใช้อยู่ ทั้งฟรีและ ไม่ฟรี นับสิบๆโปรแกรม (ซึ่งขอตัดประเด็นเรื่องบั๊ค ในแอพที่พบไปก่อน) คือ

  • บางแอพฯ จอสวยงามมาก แต่เข้าใจยากมากและซับซ้อนเป็นที่สุด, จะใช้งานทุกๆครั้ง ต้องมานั่งนึกถึงการใช้งาน หรือไม่ก็ต้องไปศึกษาจากคู่มือ ก่อนป้อนข้อมูล.
  • บางแอพฯ เน้นจอเกลี้ยง ดูใช้ง่าย ซึ่งง่ายจนเกินพอดีไป จนกลายเป็นยากจะเข้าใจ, เช่น บางตัวพยายามลด/ซ่อนปุ่มและคำอธิบายต่างๆเพื่อเน้นหน้าจอเกลี้ยงเกลาดูสมัย ใหม่ดี แต่ไปใช้การ สไลท์(ปัดหน้าจอ) ซ้ายๆ ขวาๆ ขึ้นๆ ลงๆ กว่าจะเจอปุ่มแก้ไขรายการ เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นว่า ผู้ใช้ต้องจำเอาเองว่า ปัดไปซ้ายคืออะไร ปัดไปทางขวาจะทำอะไร เลื่อนลงสุดๆแล้วถึงค่อยเจอปุ่ม เป็นต้น ทุกๆครั้งก็ต้องลองปัดๆผิดๆถูกๆเสมอ จึงเสียเวลาโดยไม่ใช่เรื่องและโอกาสผิดพลาดสูง
  • บางแอพฯ เอาฟังก์ชั่นที่ ควรแยกไว้เมนูต่างหาก แต่ดันเอามาใส่ในหน้าจอหลัก เช่น ปุ่ม เพิ่ม/ลบ บัญชี ก็เอามาอยู่หน้าจอสรุปยอด ทำให้มีโอกาสอาจจะเกิดความผิดพลาดใหญ่หลวงได้มาก
  • บางแอพฯ คาดว่าออกแบบมาสำหรับนักบัญชีมืออาชีพใช้กัน จึงมีหลายสิ่งหลายอย่างที่หากไม่ได้เรียนบัญชีหรือเป็นนักบัญชีมาก่อน ก็ยากจะเข้าใจได้.
  • บางแอพฯ เน้นให้เพิ่มรายการอย่างเดียวเลย เวลาจะตรวจสอบรายการ ก็ต้องหาเมนู สร้างรายงาน หรือ ต้องเลือกมากมายกว่าจะได้เห็นรายการตามช่วงวันที่เราอยากดู หรือเพียงแค่อยากดูยอดเงินสุทธิของบัญชีก็ต้องใช้วิธีที่ยุ่งเหยิงเสียก่อนแล้วกว่าจะได้ดูยอด
  • แอพฯส่วนใหญ่ เน้นบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างเดียว ซึ่งจะไม่รองรับการบันทึกเงินเข้าๆออกๆ ไม่รองรับสำหรับบันทึกหลายๆบัญชี ซึ่งสำคัญมากๆสำหรับผม และผมคิดว่าทุกๆคนก็ต้องมีหลายบัญชี.

ทีนี้ก็มาถึงโจทย์ เป้าหมายที่ผมตั้งไว้ให้ทีมงานผู้พัฒนา ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผมเอง โดยเฉพาะเป้าหมายหลักๆ จะต้องมีดังต่อไปนี้

  • รองรับ หลายบัญชี และจัดบัญชีเป็นกลุ่มๆได้
  • รองรับ บันทึกรายการเงิน เข้า ออก และ โอนระหว่างบัญชี
  • แสดงยอดเงินสุทธิของแต่ละบัญชี, กลุ่มของบัญชีต่างๆ และ รวมทั้งหมดทุกๆบัญชีได้ โดยจะต้องแสดงตลอดเวลาไม่ต้องหลบ ไม่ต้องซ่อน
  • ดูรายการ ที่เราบันทึกได้ง่ายๆ เห็นข้อมูลในสิ่งที่จำเป็นต้องเห็น ไม่ต้องซ่อน ไม่แสดงข้อมูลมากมายจนวุ่นวาย สามารถใช้ได้ทุกคนทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ สร้างวินัยการใช้จ่าย
  • สำรองข้อมูลได้ โดยต้องมีระบบส่ง ข้อมูลที่สำรองออกจากเครื่องไปยังที่ปลอดภัยได้ง่ายและเร็ว
  • ทุกสิ่งในหน้าโปรแกรม จะแสดงในรูปแบบ เบสิก พื้นฐาน ที่ทุกคนเห็นแล้วต้องเข้าใจได้เลย ไม่ต้องเป็นนักบัญชี ไม่ต้องลังเลว่าจะกดตรงไหนเพราะกลัวข้อมูลผิดพลาด
  • สิ่งไหนที่ไม่จำเป็นต้องถึงมือผู้ใช้ต้องมาตั้งค่า ก็ให้จัดการให้โดยอัตโนมัติไปเลย
  • ข้อมูลต้องอยู่ในเครื่อง และไม่ต้องใช้เน็ต และจะต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับพวก social media เช่น fb/twitter/line เพราะไม่จำเป็นเลย วุ่นวายเปล่าๆ เรื่องการเงินเป็นเรื่องของส่วนตัว
  • ความสวยงาม/สีสรร เป็นเรื่อง นานาจิตตัง เราไม่สามารถสร้างให้ถูกใจทุกๆคนได้ แต่ขอเพียงให้หน้าจอออกแบบอย่าง เรียบร้อย มีปุ่มทุกอย่างที่เห็นชัด ไม่ต้องซ่อน แต่ไม่เกินความจำเป็น

เรามาเริ่มดูคุณสมบัติคร่าวๆของโปรแกรมนี้ดูครับ โดยดูกันไปทีละจอครับ ในรีวิวนี้เป็นภาพจาก iOS ครับ ใน Android หน้าจอและคุณสมบัติจะเหมือนๆกัน

(บทความนี้ เขียนไว้เมื่อแอพยังเป็นรุ่นแรกๆ หน้าตาอาจจะแตกต่างจากรุ่นปัจจุบัน แต่หลักการยังคงเดิม ครับ)


หน้าจอหลัก Evo Wallet รองรับหลายบัญชี พร้อมจัดกลุ่ม สีสันปรับได้ที่ เมนู สีสัน

เปิดโปรแกรมก็จะเข้าหน้าหลักทันทีครับ เกลี้ยงๆ สะอาดตา เราจะเห็นชัดๆเลยว่าเรามีบัญชีอะไร ชนิดไหน และยอดเงินสุทธิปัจจุบัน เท่าไหร่ ตัวแดง (ยอดติดลบ) หรือ น้ำเงิน (ยอดเป็นบวก)  พร้อมกับแบ่งกลุ่มได้ ถ้ากลุ่มใหนมีลายบัญชี ระบบก็รวมยอดเงินมาแสดงให้ด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่ม บัตรเครดิต

เน้นๆเลยครับ ผู้ใช้เห็นยอดเงินแต่ละบัญชี พร้อมรวมยอดของกลุ่มบัญชี ทันทีที่เปิดแอพก็รู้ตัวเลขเลย แอพไม่ได้ซ่อนแอบตัวเลขไม่ต้องไปค้นหา หรือต้องกดปุ่มสร้างรายงานให้วุ่นวายกว่าจะเห็นยอดเงินคงเหลือแต่ละที
จุดนี้จะสำคัญมากๆเลยครับ เพราะเราต้องรับรู้ยอดเงินคงเหลือสุทธิ ของบัญชี,กลุ่มบัญชี หรือ ทุกๆบัญชีรวมกัน ได้ตลอดเวลา

เมื่อลงโปรแกรมครั้งแรก โปรแกรมจะสร้างบัญชีตัวอย่างมาให้ก่อนเลยครับ เพื่อจะได้เป็น ไกด์ไลน์ ว่าหน้าจอหลักมันควรเป็นอย่างไร ควรเก็บอะไร เช่น เงินในกระเป๋าสตางค์ / บัตรเครดิต / บัญชีเงินออม  / บัญชีออนไลน์ เช่นพวก Paypal, BillPoint, Google Wallet / หรือแม้กระทั่ง บัญชีเพื่อการใช้จ่ายในการทำโปรเจคบางอย่าง เช่นตัวอย่างคือ บัญชีสำหรับท่องเที่ยว เป็นต้น

เพราะแอพรองรับ หลายๆบัญชีมาแต่กำเนิด ผู้ใช้จึงสามารถประยุกต์ ในการสร้างบัญชีเพิ่มไปใช้ได้เช่น บัญชีเงินออม บัญชีธุรกิจ บัญชีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ บัญชีลงทุน บัตรเงินสด เครดิต/เดบิต หรือ แม้กระทั่ง บัญชีเงิน ผ่อนบ้าน/ผ่อนรถ/ผ่อนคอนโดฯ หรือ อะไรก็ตามที่เป็นแหล่ง เก็บ/ใช้จ่าย เงินแหล่งสำคัญใหญ่ๆ ของผู้ใช้ เป็นต้น

ถ้าเครื่องของคุณ ตั้งระบบเครื่องไว้เป็นภาษาไทย เอาไว้ โปรแกรมจะสร้างตัวอย่างบัญชีข้างบนเป็นภาษาไทย มาให้เลยครับ


ส่วนบนซ้ายเป็นปุ่ม menu (ขีดสามขีด) จอจะสไลด์เข้าสู่ Control Panel (แผงควบคุม)

สไลด์หรือแตะที่ปุ่มเมนู (ปุ่มสามขีด) ก็จะแสดงเมนูอยู่ซ้ายมือ ซึ่งเป็นหน้าที่สำหรับการตั้งค่าต่างๆ (Control Panel) ของโปรแกรม (Settings Accounts ตั้งค่าบัญชี/ Settings Categories กลุ่มหมวดรายรับรายจ่าย/Program Options ตั้งค่าทั่วไป/Backup-Restore สำรองข้อมูล/Export to CSV ส่งออกข้อมูลออกเป็นไฟล์แบบ CSV/Help Manual คู่มือ/About เกี่ยวกับโปรแกรม) และพิเศษคือ เปลี่ยนสีสัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะรุ่นพรีเมี่ยมครับ รุ่นฟรีก็ทดลองเปลี่ยนดูได้ครับ แต่เปิดโปรแกรมใหม่ก็จะย้อนกลับไปสีตั้งต้นเสมอ


เมื่อเข้าสู่หน้า Control Panel > Settings Accounts ก็เข้าสู่หน้าจอตั้งค่าบัญชีของเราครับ ก็แค่ไป สร้าง แก้ไข ลบ บัญชีที่เรามี ก็แค่ระบุไปครับว่า บัญชีชื่ออะไร เครื่องหมายสกุลเงิน ที่เราใช้ของบัญชีนี้ เป็นต้น และยังระบุ icon ที่มีมาให้เราเลือกใช้มากมาย เกิน 450 แบบ, สาเหตุที่แอพให้ตั้ง สกุลเงินอิสระตามบัญชี เพราะ มีหลายคนมีหลายบัญชีที่ต้องเป็นสกุลเงินแตกต่างกัน เช่น บางคนมี บัญชีเงินฝาก ทั้ง ในไทยและต่างประเทศ หรือบางคนมี Paypal ซึ่งต้องเป็น USD เท่านั้น เป็นต้น และพิเศษสุดคือ สามารถตั้งวันที่เริ่มต้นของบัญชีได้ เช่นบัตรเครดิตเราจะตัดยอดวันที่ 20 ของเดือน เราก็ตั้งวันเริ่มต้นของเดือนเป็น 21 เป็นต้น แต่ละบัญชีตั้งได้อิสระ ทำให้เวลาดูรายการของเดือนจะตรงกับรอบบัญชีของเราจริงๆครับ


ที่หน้า Control Panel > Settings Categories ก็เช่นเดียวกันครับ เอาไว้สร้าง หมวดหมู่ (หัวข้อ) เวลาลงค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเดินทาง/ค่าน้ำ/ค่าไฟ เป็นต้น โดยระบบจะมีมาให้อยู่แล้วส่วนหนึ่ง พร้อมไอคอนด้วยเช่นกัน เวลาลงรายการไปแล้ว มองแว๊บเดียวก็รู้เลยว่ารายรับรายจ่ายกลุ่มไหน


ตั้งค่าทั่วไปที่ Control Panel > Program Options ครับ ไม่มีอะไรให้ตั้งมากมาย แค่ เครื่องหมายสกุลเงิน (สำหรับใช้ตอน สร้างบัญชีใหม่) แต่จุดสำคัญคือ คุณสามารถสร้างรหัสผ่านเป็นตัวเลข 4 หลักที่หน้าจอนี้ เพื่อป้องกันคนอื่นเข้าถึงมือถือเราเพื่อแอบดูข้อมูลทางการเงินของเราได้

เปลี่ยนภาษาระบบ เมนู หน้าจอต่างๆ เป็น ไทย/English ได้จากหน้าจอนี้ครับ (ภาษาอื่นๆจะมีเพิ่มมาในอนาคต) โดยการเปลี่ยนภาษานี้ แอพจะเปลี่ยนทันทีที่เลือกครับ ไม่ต้องมานั่งรอ ปิด/เปิด โปรแกรมใหม่ เหมือนแอพทั่วๆไป

สามารถเปลี่ยน Scale ขนาดของหน้าจอได้ด้วย ซึ่งขนาดที่ให้เลือกก็จะมีแตกต่างกันไปตามแต่ละเครื่องแต่ละรุ่น โดยส่วนใหญ่ก็ เล็ก/กลาง/ใหญ่ จะมีเพิ่มก็ ใหญ่มาก/ใหญ่สุดๆ ซึ่งเพราะ EvoWallet ใช้ระบบหน้าจอแบบ Native ของเครื่อง ตัวอักษรต่างๆจึงมีความคมชัดตามเครื่องนั้นๆจริงๆ


ทีนี้กลับมาที่จอหลักอีกครั้งครับ อยากซ่อนกลุ่มบัญชีไหน ก็แตะที่ปุ่ม 3 จุด (…) ของบรรทัดชื่อกลุ่มนั้นๆ

แอพ มีรายงานแบบรวมหลายๆบัญชีด้วย
– ถ้าอยากดูรายงานแบบรวมทั้งกลุ่มบัญชี ก็แตะที่ยอดตัวเลขของชื่อกลุ่มนั้นๆ
– ถ้าอยากดูรายงานรวมทุกบัญชีที่มี ก็แตะที่ยอดตัวเลขบรรทัดกลุ่ม ยอดรวม ข้างล่างสุด
ทีนี้เราอยากดู หรือ เพิ่ม รายการรับจ่าย ของบัญชีไหนของเรา เราก็แตะที่บัญชีนั้นๆ เข้าไปดูเลยครับ


หน้าจอก็จะเห็นเป็นแบบนี้ครับ จะเห็นว่า เข้าใจได้ทันทีเลย เพราะมันคล้ายๆ สมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารแหละครับ ไม่ต้องสังเกตุให้ตาลายมาก ว่ารายการไหนเป็น + หรือ – มันแยกฝั่งกันเลย

คือ ซ้ายเป็นการถอนเงินออก (Withdrawal/ค่าใช้จ่าย/เงินออก) และ ขวาคือเงินเข้า (Deposit/รายรับ/เงินเข้า)
อีกอย่างดูกันเห็นชัดเลยครับ ทุกหน้าจอที่มีตัวเลข สีแดงคือติดลบ สีฟ้าคือเป็นบวก แต่ละฝั่งเราสามารถเลื่อนขึ้นลงอิสระ เพื่อให้ง่ายในการใช้งานเวลาข้อมูลมีเยอะๆ แยกเป็นเดือนๆ แต่ละรายการก็จะรวมตามวันที่พร้อมสีประจำวันนั้นๆ และอีกทั้งเราจะเห็นยอดรวมของบัญชีในเดือนนั้น และยอดรวมสุทธิของทั้งบัญชี

จากตัวอย่างข้อมูลด้านบนทำให้เราทราบสรุปการเงินทันทีว่า ยอดรวมของบัญชีกระเป๋าสตางค์ (Wallet) คือ +5,181.75 บาท, ยอดรวมเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็น +245.25 (แยกเป็นเงินออก -647.25 และเงินเข้า +892.50) และรายการแยกละเอียดๆตามวันที่เลย

รายการไหน มีภาพที่เราถ่ายเก็บไว้ ก็จะมีไอคอน รูปภาพ, รายการไหนเป็นการโอนเงินเข้าเงินออกก็จะมีไอคอนแสดงโอนเข้าโอนออก อีกด้วย เห็นไหมครับเห็นครบถ้วนที่ควรจะเห็นในจอเดียว
ปุ่มด้านล่าง ก็คงจะเข้าใจได้เลยว่า ปุ่มแดง (-) คือ เพิ่มค่าใช้จ่ายลงในฝั่งซ้าย ปุ่มฟ้า(+) คือ เพิ่มเงินรายรับลงไปฝั่งขวา แต่ปุ่มตรงกลางคืออะไร ชมถาพถัดไปครับ


ปุ่มกลางข้างล่าง คือการเปลี่ยนการแสดงผลให้แสดงรายการเป็นแบบทั่วไปครับ คือเรียงตามลำดับเวลา และก็จะมี ยอดปรับปรุง เพิ่มขึ้นมาให้เราเห็น เผื่อว่าคนไม่ถนัดดูรายการแบบ แยก รายรับ/จ่าย ก็ดูได้เหมือนเดิมจากแบบนี้ครับ

และยังมีอีกปุ่มครับ คือ ปุ่มที่เหมือนเครื่องหมาย = ด้านล่าง มันคือปุ่มเลื่อนรายการขึ้นสุดหรือลงสุดครับ ไม่ต้องเสียเวลาสไลด์ ถ้าข้อมูลเราเยอะๆ

แต่หน้านี้ มีข้อมูลเพิ่มให้มากกว่าอีกสองอย่างคือ ยอดรวมรายวัน อยู่ข้างๆวันที่ อีกด้วยครับ โดยที่จะทำสีจางๆไว้หน่อย ก็เพื่อไม่ให้รกสายตามากเกินไป เพราะตัวเลขในตารางนี้มีมากมายอยู่แล้ว อีกจุดคือ ยอดยกมา (Balance Forward) จากเดือนที่แล้วครับ ซึ่งคุณยังสามารถแตะที่ยอดยกมา เพื่อให้ระบบแสดงยอดปรับปรุงรวมยอดยกมา ในแต่ละรายการก็ได้อีกด้วย

เมื่อรายการเริ่มเยอะ การแสดงผลรายการเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเราต้องใช้ดูตลอดเวลา ถ้าหน้าจอออกแบบมาไม่ดีจะดูยากเข้าใจยาก, แอพเราจึงออกแบบมามีวิธีการเรียงลำดับรวมกลุ่มตาม วัน พร้อมสีประจำวัน และยอดรวมรายวันอีกด้วย ช่วยให้มองดูง่ายขึ้นมากครับ


เมื่อมีรายการค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เราก็กดปุ่มเพิ่มรายการเลยครับ (ปุ่มแดง – คือค่าใช้จ่าย / ปุ่มฟ้า + คือรายรับ) ในภาพบนคือตัวอย่างการกดเพิ่มค่าใช้จ่ายครับ จะเห็นว่ามันขึ้นที่หัวสีแดงชัดๆว่า “Widthdraw (รายการถอน/เงินออก)”
ตัวเลขยอดเงินก็จะแดงเช่นกัน เราสามารถแก้วันที่ได้ ระบุหัวข้อในการใช้จ่าย (Category) ซึ่งหากต้องการเพิ่มหัวข้อใหม่ก็สร้างจากในจอเลือกได้เลยสะดวกมาก, เพิ่มโน๊ต (Memo) หรือถ่ายรูปได้

และที่สำคัญคือ อันล่างสุด คือ ถ้าเป็นรายการโอนเงิน ก็ทำได้ ยอดเงินรายการนี้ก็จะไปผูกกับบัญชีที่เราระบุด้วยในทันที เช่น เรามีการถอนเงินออกมาจาก ATM ออมทรัพย์ มาใส่ กระเป๋าตังค์  หรือ เอาเงินจาก กระเป๋าตังค์ไปจ่าย บัญชีบัตรเครดิต เป็นต้น

ยังมีอีกครับ คือ แอพ ยอมให้เรา เพิ่มรายการ ที่ไม่ต้องกรอกอะไรเลยก็ได้ เงินเป็น 0 บาทก็ได้ จากนั้นเราก็กลับมาแก้ไขได้ คุณคงจะมีคำถามว่า แล้วมีประโยชน์อะไร?
คำตอบคือ บางครั้งเราไม่มีเวลากรอกข้อมูลให้ครบๆ เช่นขณะเดินทาง ขับรถ หรือ ต้องรีบทำภาระกิจ ทั้งๆที่เรายังกรอกบางอย่างยังไม่ทันเสร็จแม้กระทั่งยังไม่ได้ใส่เงินด้วย ซ้ำ เราก็กดเพิ่มรายการเอาไว้ก่อนกันลืมได้เลย จากนั้นเมื่อว่างแล้วก็ค่อยมาแก้เพิ่มเติมข้อมูลให้ครบถ้วนในภายหลังได้.


ก็ง่ายๆครับ ระบบจะแสดงวันที่ปัจจุบันไว้ก่อนเลย แต่ถ้าเราต้องการแก้ ก็แค่แตะปุ่มวันที่ ปฏิทินก็จะโผล่ขึ้นมาให้เลือก, เป็นปฎิทินเลยนะครับ ไม่ใช่ตัวสไลท์ วัน เดือน ปี ที่หลายคนไม่ชอบ เพราะดูยากกว่าและเสียเวลา กว่า ปฎิทิน ปกติๆ.

และในรุ่นใหม่ๆ ผู้ใช้ยังสามารถ ระบุเวลา ของแต่ละรายการได้อีกด้วย เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความเที่ยงตรง และการจัดเรียงรายการที่เกิดขึ้นให้ตรงความเป็นจริง


จุดที่เจ๋งๆที่ดูเหมือนว่าเกือบทุกๆโปรแกรมในกลุ่มนี้จะไม่มีมาให้ คือ เครื่องคิดเลข ในตัวครับอีโว วอลเล็ต มีเครื่องคิดเลขแบบง่ายๆในตัวมาให้ใช้เวลากรอกจำนวนเงินด้วย เพราะมันจะไม่สะดวกเอาเสียเลยที่บางทีเราอาจจะต้องสลับจอไปเปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลขข้างนอก เสร็จแล้วต้องจำตัวเลขสุดท้ายเอากลับมากรอกที่จอนี้อีกทีนึง ต่อไปนี้ก็ไม่ต้องแล้วครับ ใช้เครื่องคิดเลขใน อีโววอลเล็ต เองเลย คำนวนเสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม OK มันก็จะเอายอดจากเครื่องคิดเลข ไปกรอกให้เลย สะดวกสุดๆ


โปรแกรมยอมให้มีการถ่ายรูปได้หนึ่งรูปด้วยครับ เป็นประโยชน์มากครับ เพื่อกันลืมได้ เช่นตามตัวอย่าง คือซื้อบานพับประตูตู้ ก็ถ่ายรูปพร้อมใบเสร็จไปเก็บไว้เลย วันหน้าย้อนมาดูก็จำได้ทันที หรือจะให้ก๊อบปี้ภาพจาก Camera Roll มาก็ยังได้, ภาพที่ถ่ายไว้จะถูกเก็บไว้ที่เนื้อที่ของโปรแกรมเอง จะไม่ไปปะปนอยู่ใน Camera Roll นะครับ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะไปเป็นขยะหรือให้คนแอบดูของเราได้ เช่นบางทีเราถ่ายภาพสมุดบัญชี หรือสลิปบัตรเครดิต อะไรแบบนั้น

หมายเหตุ : เนื่องจากข้อจำกัดในเนื้อที่ของมือถือต่างๆ และคุณภาพของกล้องดีขึ้นมากในปัจจุบันภาพที่ถ่ายก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้นไป ด้วย ดังนั้นภาพที่อยู่ในโปรแกรมนี้จะไม่ถูกสำรองข้อมูลพร้อมกับฐานข้อมูล, คุณต้องสำรองภาพถ่ายจาก itunes file sharing เอง หรือตั้งค่าเครื่องของคุณให้ icloud จัดการให้อัตโนมัติก็ได้


ตัวอย่าง เหตุการณ์ใช้จ่าย เพื่อบันทึกรายการ
     หลายคนอาจจะไม่เคยได้ใช้โปรแกรมบันทึกรายการ รับจ่ายโอน เช่นนี้ อาจจะรู้สึกงงๆได้ว่าเมื่อเกิดการ รับ/จ่าย/โอนเงิน เกิดขึ้น จะลงบันทึกอย่างไร ผมเลยขอเขียนอธิบายคร่าวๆ ได้ดังนี้

สมมุติ ผมสร้างหัวบัญชี ไว้ 3 บัญชี คือ

  • กระเป๋าสตางค์ : เพื่อเก็บบันทึกเงินสด ที่อยู่ในตัวเรา
  • บัตร Visa : บัญชีบัตรเครดิต ที่ผมมีอยู่
  • ออมทรัพย์ : บัญชีธนาคาร เพื่อเงินออม และ รับเงินเดือน

ให้เรามองว่าแต่ละบัญชี เป็นแหล่งที่เก็บเงินแต่ละแหล่งของเรา

ตัวอย่าง เมื่อเกิดการ รายรับ รายจ่าย ขึ้นมา แล้วเราจะบันทึกอย่างไรดี
(ลองทำความเข้าใจ ตามตัวอย่าง ทีละขั้น จะได้ไม่สับสนนะครับ)

  1. มีเงินเดือนเข้าบัญชีออมทรัพย์ 20,000 บาท
    >>  ที่บัญชี “ออมทรัพย์” > สร้างรายการ  “ฝาก” = +20,000 บาท.
  2. ถอนเงินจาก บัญชีออมทรัพย์ 3,000 บาท มาเก็บอยู่ในกระเป๋าสตางค์
    >>  ที่บัญชี “ออมทรัพย์” > สร้างรายการ “ถอน” = -3,000 บาท โดยระบุให้ “โอน” ไปใส่ “กระเป๋าสตางค์“.
  3. ใช้บัตร visa ซื้อของ  890 บาท
    >>  ที่บัญชี “บัตร Visa” > สร้างรายการ “ถอน” = -890 บาท.
  4. ใช้เงินสด ซื้อของ 500  บาท
    >>  ที่บัญชี “กระเป๋าสตางค์” > สร้างรายการ “ถอน” = -500 บาท.
  5. ใช้บัตร visa เติมน้ำมัน  1,500 บาท
    >>  ที่บัญชี “บัตร Visa” > สร้างรายการ “ถอน” = -1,500 บาท.
  6. เอาเงินจากกระเป๋าสตางค์ไปชำระค่าบัตร Visa 2,390 บาท
    >>  ที่บัญชี “กระเป๋าสตางค์  สร้างรายการ “ถอน” = -2,390 บาท  โดยระบุให้ “โอน” ไปใส่ “บัตร Visa“.

จะเห็นได้ว่า เนื่องจากแอพ ออกแบบให้เรามองเริ่มจาก บัญชี (แหล่งเก็บเงิน) เป็นหลัก มันจึงตรงกับเหตุการณ์จริงๆในชีวิตประจำวัน เพราะเมื่อเกิดการใช้จ่าย สิ่งแรกที่เราต้องนึกถึงคือ เอาเงินจากแหล่งใหนไปใช้ แล้วเงินที่ใช้ นั้น มันจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าใช้ไปเลย (ซื้อของ จ่ายเงินออกให้คนอื่นไป) ก็ ถอนอย่างเดียว แต่ถ้า ถอนเพื่อเอาเข้าบัญชีอื่นของเราเอง ก็ ถอนแล้วเลือกว่าเป็นการโอน.

หลักการมันตรงกับพฤติกรรมของคนใช้จ่ายเงินทุกคนอยู่แล้วครับ ไม่ยากเลยใช่ใหมครับ ^^


ในแต่ละบัญชี เราก็จะสามารถเข้าดูรายงานสรุปยอดรวม รายรับ/รายจ่าย ตามกลุ่มที่ใช้จ่าย พร้อมกราฟ แบบโดนัท และ แท่งบาร์กราฟ ดูปริมาณยอดรวมเงินตามเปอร์เซ็นต์แบบง่ายๆ ตามหัวข้อกลุ่ม แยกตามรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปีครับ เราก็เห็นภาพรวมชัดขึ้นได้ว่า รายรับรายจ่ายอะไรที่เป็นเงินก้อนใหญ่สุดในเดือน หรือปี นั้นๆ

สำหรับรายปี นั้น วิธีดูรายปีคือ ให้เลือกดูรายงานรายเดือนก่อน จากนั้น รายปีจะอยู่ที่ระหว่าง เดือน 1 กับ 12 ของทุกๆปีครับ ให้ลองเลื่อนเดือนไปดู, เหตุผลคือ เนื่องจากรายงานจะเป็นการคำนวณยอดทั้งหมดช่วงวันที่เลือกดู แอพจะคำนวนใหม่ทุกครั้ง (ไม่คำนวนเก็บไว้ เพราะเสี่ยงต่อปัญหา) ดังนั้น รายปี บางท่านอาจจะมีข้อมูลจำนวนมากมาย อาจจะช้าได้ถ้าเครื่องสเปคต่ำ.

ยังไม่พอครับ ที่ห้ารายงานนี้ คุณยังกดที่มุมบนขวา เพื่อเลือกให้ระบบสรุป เฉพาะ รายการฝาก รายการถอน หรือรวมทั้งหมด ก็ยังได้ ครับ และพิเศษอีกครับ คุณยังสามารถแตะที่ หมวดรายการใดๆ ระบบก็จะไปค้นเอารายการที่เกี่ยวข้องกับหมวดนั้นๆขั้นมาแสดงอีกด้วยครับ เผื่อใครอยากดูเฉพาะ หมวด อาหารการกิน ในเดือนนี้ เป็นต้น


evo-wallet-personal-money-tracker-21

จุดหนึ่งที่สำคัญมากๆ ที่ระบบเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสำคัญๆ ที่จะต้องสูญหายมิได้ นั่นคือ ระบบ สำรองข้อมูล ครับ ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมอะไรก็ตาม คุณต้องมองหา ระบบ สำรองข้อมูลไว้ก่อนเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเชื่อหรือไม่ครับว่ามีหลายโปรแกรมทางการเงินได้ละเลยระบบการสำรองข้อมูล นี้ไป

ใน อีโว วอลเล็ต มีระบบการสำรองข้อมูลหลายทาง คือ หลังจากสั่ง Backup ฐานข้อมูล ลงไปเก็บไว้ในมือถือ คุณจะ สามารถใช้วิธีการหลายทาง สำรองข้อมูลออกมาจากมือถือไปเก็บไว้ในที่อื่นเพื่อเพิ่มความปลอดภัย หากมือถือ หาย หรือ เสีย นั่นคือ

สำหรับ iOS

  • แบบอัตโนมัติ ระดับที่ 1 (iOS) : เมื่อ Sync iTunes ตามปกติมันก็จะถูก backup ไปเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ โดยอัตโนมัติ
  • แบบอัตโนมัติ ระดับที่ 2 (iOS) : ถ้าเครื่องของคุณ Login iCloud ไว้ iOS จะ Backup ข้อมูลทั้งเครื่อง เก็บไว้ที่ Apple iCloud Server ด้วย
  • แบบอัตโนมัติ ระดับที่ 3 (แอพ) : ถ้าเครื่องของคุณตั้ง iCloud เอาไว้ เมื่อ EvoWallet มีการสั่งสำรองฐานข้อมูล ไฟล์สำรองข้อมูลของ EvoWallet ก็จะไปอยู่ใน iCloud ด้วยเสมอ ทีนี้จะไปสั่ง Restore ที่ iOS เครื่องไหนๆก็ได้ที่ใช้บัญชี iCloud เดียวกัน ไฟล์จาก iCloud ก็จะตามมาให้เรานำกลับมาใช้. อีโววอลเล็ต คำนึงถึงเนื่อที่ด้วย โดยจะเก็บไฟล์สำรองไว้ใน iCloud เพียง 10-20 ไฟล์ล่าสุดเท่านั้น คุณจึงไม่ต้องกังวลว่ามันจะเปลืองเนื้อที่ใน iCloud ของคุณเลย.
  • แบบแมนนวล ด้วยตนเอง (แอพ) : คุณอาจจะ copy file backup ออกมาโดยใช้ iTunes File Sharing (ที่ iTunes > เลือกมือถือเรา > ไปที่หน้า Apps > เลื่อนลงไปหา “Evo Wallet” ก็จะพบ file ฐานข้อมูลที่เคย backup ไว้ และ Folder ที่เก็บรูปภาพ ให้เรา copy ออกมาได้โดยตรง)
  • แบบแมนนวล แนบไฟล์ส่งเมล์ (แอพ) : นอกจากนี้ ขณะที่คุณสั่ง backup คุณก็จะสามารถ สั่งให้ระบบสร้าง e-mail พร้อมแนบไพล์ฐานข้อมูล ส่งตรงไปที่ e-mail ได้ด้วย ซึ่งรวดเร็วมากและปลอดภัยแน่นอน ไม่ต้องรอเวลาที่จะเสียบสายกับ computer เพื่อ sync กับ itunes

สำหรับ Android

  • แบบอัตโนมัติ (Android 7 ขึ้นไป) : แอพเปิดการทำงานระบบ สำรองอัตโนมัติ ใน แอนดรอยด์ไว้ด้วย ถ้าเครื่องคุณเปิดอยู่, หากเผลอลบแอพทิ้งไป เมื่อติดตั้งใหม่ข้อมูลจะกลับมาเอง (ขึ้นกับ แอนดรอยด์เครื่อง/รุ่น นั้นๆ)
  • แบบแมนนวล ด้วยตนเอง (แอพ) : ไฟล์สำรองจะจัดเก็บอยู่ในเครื่อง คุณแค่เสียบ USB กับ PC แล้วเปิดโหมด Mass Storage (ที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่) เข้าไปหา ไฟล์ชื่อขึ้นต้นว่า “MyWallet-<ตามด้วยวันที่@เวลา>.bwall” กับ Folder ชื่อ “EvoWallet-Media” ซึ่งเป็นที่เก็บ ภาพถ่าย
  • แบบแมนนวล แนบไฟล์ส่งเมล์ (แอพ) : นอกจากนี้ ขณะที่คุณสั่ง backup คุณก็จะสามารถ สั่งให้ระบบสร้าง e-mail พร้อมแนบไพล์ฐานข้อมูล ส่งตรงไปที่ e-mail ได้ด้วย ไฟล์จะอยู่ใน เมล์บ๊อกซ์ ที่ปลอดภัยมากๆของคุณตลอดไป

และที่สำคัญกว่านั้น ระบบยังคำนึงถึงความปลอดภัยของการโจรกรรมข้อมูลเอาไว้ คือไฟล์ Backup ที่สำรองข้อมูลไว้ จะถูก Encrypted (เข้ารหัส) เพื่อป้องกันการแอบดูข้อมูลใด้ในระดับหนึ่งเมื่อไฟล์นี้ถูกไปอยู่ในมือของ ผู้อื่น

การ Restore ข้อมูลก็ทำได้ง่ายมาก เพราะหลังจากสำรองข้อมูล โปรแกรมจะเก็บไฟล์เอาไว้ถึง 15 ครั้ง (เก่าเกิน 15 ครั้งของเก่าก็จะถูกลบไป เพื่อประหยัดเนื้อที่ในมือถือ), เมื่อต้องการ เอาข้อมูลกลับก็แค่เลือก วัน และเวลาที่จะเอากลับ ระบบจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วินาทีเท่านั้น (เฉพาะสำหรับ Android คุณอาจจะต้อง ปิด/เปิด โปรแกรม 1 ครั้งก่อน หลังจาก เอาฐานข้อมูลกลับมาอย่างสมบูรณ์)

จุดสำคัญพิเศษอย่างหนึ่งคือ EvoWallet มีให้ใช้ทั้ง iPhone และ Android, Huawei HMS, Amazon Fire ด้วย ดังนั้น คุณสามารถใช้ ฐานข้อมูล ข้ามกันได้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์มาก เมื่อคุณต้องเปลี่ยนมือถือ ข้ามระบบ ระหว่าง Android/iPhone ก็ใช้ฐานข้อมูลเดิมต่อเนื่องกันไปเลยครับ


EvoWallet-ip5-15

นอกจากการสำรองฐานข้อมูลแล้วยังไม่พอ ระบบยังเตรียมการส่งข้อมูลออก (Transaction Export) ให้มาอยู่ในไฟล์ชนิด CSV (Comma Separated Values) เพื่อนำไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆได้ เช่น MS Excel, Spread Sheet หรืออื่นๆมากมายที่รองรับ ไฟล์ชนิดนี้ โดยคุณสามารถเลือก ช่วงวันที่ที่จะทำการ export ได้อีกด้วย (โดย default ระบบจะเลือกเดือนปัจจุบันโดยอัตโนมัติเพื่อความสะดวก)

evo-wallet-personal-money-tracker-23

และเมื่อคุณเลือกให้ แนบไฟล์ ส่ง e-mail ระบบก็จะสร้าง e-mail และไฟล์แนบทันที เพียงแค่กรอก e-mail ตัวคุณเองแล้วกดส่ง ก็เสร็จ
Tip : เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับ ผู้ใช้ iOS ผมแนะนำให้ตั้งค่า โดยไปที่ หน้า iOS > Settings > Mail, Contacts, Calendar > ตั้ง Always Bcc Myself เป็น ON ซึ่งก็จะทำให้ เมื่อเกิด e-mail แนบไฟล์ ตรง BCC จะระบุเป็น e-mail เราเองโดยอัตโนมัติ ทำให้เราไม่ต้องกรอก e-mail อะไรเพิ่มอีกเลย แค่กด ส่ง/Send ไฟล์แนบก็จะไปอยู่ใน mailbox ของเราเองทันที

evo-wallet-personal-money-tracker-24

ภาพสุดท้ายครับ เป็นตัวอย่างข้อมูลทดสอบ ที่ผมสั่ง Export เป็น CSV แล้วส่ง e-mail หาตัวเอง, และใน iOS เมื่อกดที่ file CSV ระบบจะจัดหน้าจอแสดงผลได้ดูสวยงามเป็นตารางให้เราตรวจสอบเบื้องต้นได้อีก ด้วยครับ (ส่วนตัวเลขบางตัวในหน้าจอจะเห็นเป็น ลิงค์นั้น เพราะระบบ iOS มันเข้าใจว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์ครับมันเลยทำลิงค์ให้เลย ซึ่งไม่ใช่เพราะโปรแกรมผิดพลาดแต่อย่างใด) เมื่อดู csv ได้ในมือถือ ก็ถือว่า สะดวกมากมายจริงๆครับ , การทำการ Export ใช้เวลาไม่ถึง 2 วินาที ก็เรียบร้อยครับ. และที่เห็นในภาพมีรายการ 0.00 ด้วยนั้นเพราะผมทดสอบเพิ่มรายการว่างๆครับ เพื่อทดสอบว่าสามารถกลับมาแก้ภายหลังได้ ไม่ใช่เพราะโปรแกรมผิดพลาด.

สำหรับผู้ใช้ gmail เปิดใน เว็บเบราเซ่อร์ใน PC, สามารถเปิดไฟล์ csv ที่แนบมากับเมล์ด้วย google sheet ได้เลย ใช้งานเหมือน xcel แถมยังสามารถ เซฟออกมาได้หลากหลายรูปแบบเช่น xls, sxls หรืออื่นๆสะดวกมาก

ไฟล์ .CSV ที่ได้ออกมา เป็นแบบ unicode ตามระบบมือถืออยู่แล้วนะครับ รองรับภาษาไทยและทุกๆภาษาทั่วโลก ใช้ notepad เปิดมาดูได้.

และก็มีคำแนะนำ สำหรับผู้ที่จะเอา ไฟล์ .CSV ไปใช้ใน Microsoft Excel นะครับ, ถ้าเราดับเบิ้ลคลิกที่ ไฟล์ตรงๆ Excel จะเปิดขึ้นมา แต่ภาษาไทยจะแสดงเป็นต่างดาวนะครับ ตรงนี้คือ เป็นปัญหาที่ Excel เอง ที่ไม่ได้ผ่านวิธี import ตามปกติ

วิธีเปิด ไฟล์.CSV ด้วย Excel ที่ถูกต้อง คือ

  1.  เราต้องเปิด Excel ขึ้นมาก่อน
    CSV-2-Excel-Step1
  2. จากนั้น ไปที่ Menu “Data” > “From Text (หรือ From File)” ก็จะเปิดหน้าจอ import มาให้เราเลือก (ถ้า Excel รุ่นเก่าๆก็เลือก File > Import) ไฟล์ .CSV แล้ว Excel จะแสดงภาษาไทยก็ถึงจะแสดงได้ถูกต้องครับผม

EvoWallet-ip5-14

เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลก็ยังไม่ขาดไปครับ คือคุณสามารถตั้งรหัสผ่าน เป็น Code 4 หลัก ได้ ครับ ป้องกันคนอื่นแอบดูข้อมูลความร่ำรวยของเราได้

และสำหรับ iOS เครื่องที่มี Touch ID/Face ID (สแกนลายนิ้วมือ/สแกนใบหน้า) แอพก็รองรับนะครับ ที่มุมบนซ้ายมือของจอใส่รหัส จะมี ปุ่มรูปลายนิ้วมือ อยู่ครับ
แต่ก่อนจะใช้ ToucID/FaceID ได้ คุณจะต้อง Login รหัสที่ตั้งไว้ อย่างน้อย 1 ครั้งก่อน เพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นเจ้าของข้อมูลจริงๆ. (รวมไปถึงเมื่อมีการ Restore นำฐานข้อมูลกลับมาใช้ด้วย ก็ต้อง Login ด้วยรหัสผ่าน 1 ครั้ง ก่อน)


EvoWallet-ip5-17

สำหรับรุ่น Premium ราคา 1.99$ นั้น คุณสามารถ ตั้งรูปแบบสีสันได้ครับ เพื่อให้การใช้งานสบายตา และ ตามสไตล์แต่ละคนได้อีกด้วยครับ


——

ขอสรุปโดยภาพรวมนะครับ ว่า
(ข้อมูล ณ. วันที่รีวิวนี้ คือ เวอร์ชั่น 1.60.0)

EvoWallet เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมา เน้น ความรวดเร็ว หน้าจอไม่ซับซ้อน ไม่ซ่อนปุ่ม ไม่ซ่อนวิธีการ ให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายๆ คือ ทุกปุ่มแสดงให้เห็นในหน้าจอนั้นจะสื่อให้เห็นชัดว่าคุณกดไปแล้วมันคืออะไร คุณกำลังจะทำอะไร เรียกได้ว่า ผู้ใช้ไม่ต้องจำวิธีการมากมาย คุณไม่ต้องเป็นนักบัญชีก็เข้าใจได้ โดยไม่ต้องอ่านคู่มือเลย เพราะเมื่อคุณบันทึกรายการเข้าไปมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หากใช้ระบบซับซ้อนเข้าใจยาก เมื่อเกิดการบันทึกพลาดถ้าโปรแกรมใช้งานยาก การแก้ไขอาจจะยากตามไปด้วย. ทุกคนคงเคยพบปัญหา ปวดหัวเวลาใช้แอพเช่น ปัดซ้ายทำอย่างนึง ปัดขวาจะทำอีกอย่าง ปัดขึ้นทำอย่างนึง ปัดลงทำอีกอย่าง กดค้างนานๆก็ทำอีกเรื่องนึง ซึ่งถ้าเราไม่จำให้แม่นๆเราอาจจะต้องทดลองปัดไปปัดมา เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร จนต้องเสียเวลามีค่าเพื่อควานหาคู่มือมาอ่านละเอียดกันเลยทีเดียว เรื่องปวดหัวแบบนี้คุณจะไม่พบใน EvoWallet.

การแสดงผลหลักทุกคนก็น่าเข้าใจได้อยู่แล้วเพราะดูคล้ายๆสมุดคู่ฝากบัญชีของธนาคารเป็นเอกลักษณ์ ที่หาไม่ได้ในโปรแกรมอื่นๆ. ทุกๆหน้าจอหลักๆที่ต้องใช้เป็นประจำ ระบบออกแบบให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยการแตะเพียง 2 ครั้งเท่านั้น.

เผอิญว่า เนื่องจากเป็นการรีวิวภาษาไทย ภาพตัวอย่าง จึงเป็นภาษาไทย เกือบทั้งหมด (ภาพเกือบทั้งหมดผมเอามาจาก เว็บ ของ evowallet ซึ่งใช้ใน AppStore/PlayStore/AppGallery ไทย) แต่ไม่ต้องกังวลครับ โปรแกรมรองรับให้เลือกแสดงผลได้หลายภาษา (ปัจจุบันมี ไทย/English)  และ รายการต่างๆ เราสามารถใช้ภาษาไทย หรือภาษาอื่นๆตามแต่ iOS จะมีให้ใช้ หรือแม้แต่ตัวอักษรแบบ Emoji ก็ได้ครับไม่มีปัญหาแต่อย่างใด. รวมไปถึงระบบวันที่ด้วยครับ แม้ระบบแสดงเป็น ค.ศ. เท่านั้น แต่บางเครื่องเป็น พ.ศ. ระบบก็แสดง ค.ศ. ไม่เพี้ยนครับ, ในบางโปรแกรมเท่าที่ผมเจอ (คาดว่าผู้พัฒนาที่อยู่ต่างประเทศหลายประเทศ คงใช้แต่ ค.ศ. จึงไม่เข้าใจที่มีบางประเทศไม่ใช้ ค.ศ.) เมื่อเปลี่ยน iOS สลับไปมาระหว่าง พ.ศ.-ค.ศ. หรือปีปฏิทินประเทศอื่นๆ ระบบวันที่ของโปรแกรมอาจจะมีการเพี้ยนครับยิ่งหากบันทึกข้อมูลไปก็จะแก้ไข ยุ่งยากมากครับ แต่ในอีโววอลเล็ตปัญหาแบบนี้จะไม่มีครับ.

เมื่อเพิ่มรายการ รับจ่ายโอนเข้าระบบ ยอดรวมทั้งหมดจะถูกคำนวนใหม่และจะเห็นยอดเปลี่ยนแปลงไปได้ทันที และมาพร้อมระบบ PassCode (พร้อมรองรับ TouchID สแกนลายนิ้วมือใน iOS) และไฟล์สำรองข้อมูลแบบเข้ารหัส เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลการเงินของคุณไม่ตกถึงมือคนอื่นง่ายๆแน่นอน

ถ้าคิดว่า มือถือ อยู่ติดตัวเราตลอดเวลา เรียกได้ว่าน่าจะอยู่กับตัวเรามากกว่าอุปกรณ์อื่นใดเสียอีก ดังนั้น ใช้มือถือของคุณให้คุ้มค่ากันดีกว่า ด้วยโปรแกรมบันทึกการเงินส่วนบุคคล ที่ทำให้เราสามารถวางแผนทางการเงิน หรือแม้กระทั่งอาจจะช่วยให้เราพบช่วงโหว่ทางใช้เงินของเราอีกด้วย.

เรื่องการ  ดาวน์โหลด

[ รุ่น FREE ไม่มีหมดอายุ บันทึกได้ไม่จำกัดรายการ รับจ่ายโอน ]

บน Android PlayStore มีรุ่น ใช้ FREE! ฟรี! ครับ กดโหลดโดยไม่ต้องลังเลเลย
บน Huawei AppGalley มีรุ่น ใช้ FREE! ฟรี! ครับ กดโหลดโดยไม่ต้องลังเลเลย
บน Nokia X (ทุกรุ่น) มีรุ่น ใช้ FREE! ฟรีครับ กดโหลดโดยไม่ต้องลังเลเลย
บน Amzon Store มีรุ่น ใช้ FREE! ฟรี! ครับ กดโหลดโดยไม่ต้องลังเลเลย

[ รุ่น Premium ไม่มีโฆษณา,  ที่สำคัญไม่มี จ่ายเงินในแอพอีกแล้ว ซื้อแล้วจบได้ครบทุกฟังก์ชั่น]
บน Android มีรุ่น Premium ราคาเพียง 67.89 บาท ครับ สำหรับคนที่ลองใช้รุ่นฟรีแล้ว อยากสนับสนุน นักพัฒนาคนไทยครับ
บน iOS รุ่น Premium ด้วยราคา $1.99 USD หรือแค่เพียงประมาณ 60 บาท เท่านั้น คุ้มค่าครับ

เพื่อให้เห็นภาพชัดๆก็คือ ราคา $1.99 เหรียญ มันก็ประมาณเท่ากับคุณซื้อ สติกเกอร์ในไลน์ เพื่อส่งกันเล่นๆได้เพียง 1 เซ็ตเท่านั้นเองครับ
เรื่องประสิทธิภาพในเวอร์ชั่น บน iOS ไหลลื่นมากครับเราจะเห็นอนิเมชั่นครบถ้วนที่ควรจะเป็น, ส่วนใน Android เนื่องจากเครื่องมันมีหลาย Spec หลาย Firmware หลาย Environment (ปัจจุบัน ณ วันที่ทำบทความนี้ มือถือ android มีมากกว่า 6,500 รุ่น เฉพาะที่ทำการลงทะเบียนกับ google และ ยังไม่รวมจำนวน firmware ในแต่ละรุ่นอีกหลาย version นับไม่ถ้วน) ผู้พัฒนาจึงต้องตัดทอนอนิเมชั่นบางอย่างออกไปเพื่อให้รองรับ Android ได้ทุกๆรุ่น แต่คุณสมบัติในการใช้งานเหมือนกันทุกประการครับ.

อย่านำข้อมูลทางการเงินของคุณเข้าสู่ระบบที่วุ่นวาย ยุ่งยาก แต่ใช้ระบบที่ง่าย รวดเร็วและไม่ซับซ้อนจะดีที่สุด เพราะถ้าแค่เริ่มก็ซับซ้อนแล้วต่อๆไปข้อมูลยิ่งเยอะก็จะมีแต่ยิ่งวุ่นวาย

ให้ อีโว-วอลเล็ต อยู่ติดตัวคุณ เป็นเลขาฯช่วยบันทึกค่าใช้จ่ายส่วนตัวของคุณ ทุกที่ทุกเวลา

คุณสามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมของ EvoWallet (ไทย/อังกฤษ) และติดต่อผู้พัฒนา ได้ที่
Evo Wallet : Money Tracker web site.

ผู้ใช้ Android ดูข้อมูล และดาวน์โหลด รุ่น FREE! ไปใช้ ฟรี ใน Google PlayStore (ของทุกประเทศ) ได้ที่
Evo Wallet – Money Manager / Money Logger for Android Phone

ผู้ใช้ Android ดูข้อมูล และ สั่งซื้อ รุ่น Premium ใน Google PlayStore (ของทุกประเทศ) ได้ที่
Evo Wallet – Money Manager / Money Logger [Premium Version] for Android Phone

ผู้ใช้ iPhone/iPod Touch ดูข้อมูล และ สั่งซื้อ ใน Apple AppStore (ของทุกประเทศ) ได้ที่
Evo Wallet – Money Tracker / Money Logger for iPhone/iPod
——

ช่วยสนับสนุนแอพคนไทย แอพไม่มีพิษมีภัย ใช้กันได้ทุกเพศทุกวัย แค่ ช่วยแชร์ EvoWallet บนเพสบุ๊คของคุณ ให้เพื่อนๆคุณได้รู้จักนะครับ

รีวิวอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

อีโวโพลิส
Author: อีโวโพลิส

7 thoughts on “Evo Wallet – Easy to use Personal Money Tracker for Mobile – อีโว วอลเล็ต – โปรแกรมบันทึกการเงิน รับจ่ายโอน บนมือถือ สุดแสนจะใช้ง่าย

    1. ไฟล์ CSV ที่ export มาจาก EvoWallet ใช้มาตรฐานรหัสภาษา Unicode ตาม ระบบของมือถือ อย่างถูกต้องอยู่แล้ว,
      แต่หลายท่านอาจจะพบปัญหาภาษาไทยใน Excel, เนื่องจากตัว Excel เองจะมีปัญหา ถ้าเราดับเบิลคลิ๊กที่ไฟล์ .CSV ตรงๆ การแสดงผลภาษาไทย ใน Excel จะผิดเพี้ยน,
      ดังนั้น เพื่อจะเปิดไฟล์อย่างถูกต้อง เพียงทำตามขั้นตอน อย่างง่ายๆ นี้

      1. เปิดโปรแกรม Excel ขึ้นมาก่อน.
      2. ใน Excel คลิกที่แท็บ “Data” แล้วเลือกเมนู “From Text”แล้ว เลือกไฟล์ CSV แล้วกดปุ่ม “Import”

      เพียงเท่านั้น ภาษาไทยก็จะแสดงอย่างถูกต้องใน Microsoft Excel.

  1. ใช้ง่ายชอบ
    แต่ถ้ามีละบบกู้ยืม หนี้สีน จะสุดยอดมากเลีย
    จะรอใช้นะครับ พัดทะนาต่อไป

  2. คือ import ไฟล์ ออกไปแล้ว เอเข้ามาไม่ได้คะ ทำไงคะ ตอนนี้มีไฟล์ csv ในเครื่องแต่ ไม่สามารถคืนค่าได้

    1. ไฟล์ CSV ไว้สำหรับ ส่งออกไปใช้ใน โปรแกรมพวก spreadsheet เช่น Excel ครับ ไม่ใช่ การสำรองฐานข้อมูล

      หากต้องการสำรองฐานข้อมูล เพื่อสามารถนำกลับหรือไปใช้ในเครื่องอื่น ให้ไปทำที่ เมนู “สำรองฐานข้อมูล” ครับ

  3. รบกวนสอบถามค่ะ ตอนนี้เปลี่ยนมือถือ แต่เครื่องเก่าไม่สามารถ Back up ใน Icloud ได้ ต้องทำยังไงถึงจะย้ายข้อมูลมาเครื่องใหม่ได้อ่ะคะ

    1. สำหรับ Android หรือ iOS ที่ไม่ได้ใช้ iCloud สามารถใช้วิธี

      สำรองฐานข้อมูล โดยเลือกให้ส่ง อีเมล์ไปใช้ที่เครื่องใหม่ ได้ค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *