Battery Doctor Pro (Cydia App) iOS App – สุดยอด แอพฯ จัดการ แบตเตอรี่ บน iOS (เจลเบรค)

สวัสดีครับ สองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้พบ แอป สำหรับ iPhone 4 (ที่ผมทำการเจลเบรคไปแล้ว กับ iOS 6.1.2) ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า เป็นแอป จัดการเรื่องแบตเตอรี่ที่ มีคุณสมบัติครบถ้วน แถมยังมีคุณสมบัติเกินเลยไปกว่าจะจัดการเรื่องแบตอย่างเดียวอีกด้วย.

ปกติ เมื่อเราทำการ เจลเบรคแล้ว สิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากจะได้ใน iOS แต่ทำไม่ได้ถ้าไม่เจลก่อน คือ พวก Toggle Functions (ปุ่ม ปิด/เปิด การทำงาน) ต่างๆในเครื่อง โดยเอามาไว้ที่ Notifiction Center จะได้ปิด/เปิดได้ง่ายๆ เช่น ปุ่ม ปิด/เปิด WiFi/3G, ล๊อคการหมุนจอ, ปรับความสว่าง, ปิด/เปิด โลเคชั่นเซอร์วิส, การสั่น, re-boot, ฯลฯ ซึ่งถ้าเราไม่เจลกว่าเราจะไปตั้งค่าต่างๆได้ ต้องใช้เวลา ความจำ และ อาจจะมีหลายขั้นตอน. แอป ใน cydia (cydia เป็นเสมือน App store สำหรับเครื่องเจล) ที่ทำหน้าที่พวกนี้คือ SBSettings, NCSettings เป็นต้น. และยังมีเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลของ ก้อนแบตฯในเครื่องของเรา ว่า สภาพเป็นอย่างไร การใช้งานเป็นเช่นไร กำลังจะเสื่อมหรือไม่ และประโยชน์อีกมากมาย

เครื่อง iPhone 4 ของผม อายุก็ย่างเข้าปีที่ 3 แล้ว ถือว่าอายุมากและแบตเตอรี่ก็อาจจะเริ่มๆเสื่อม หรือ อาจจะเสื่อมไปเสียแล้ว, ผมจึงหา App สำหรับตรวจคุณภาพแบต หรือ ช่วยประหยัดพลังงาน มาใช้ ก่อนที่มันจะสิ้นสภาพไปจริงๆ

เนื่องจากเป็นบทความเพื่อการรีวิว ไม่ใช่การสอนการใช้งานโปรแกรม, ผมจึงอาจจะอธิบายบางอย่างไม่ละเอียดละออไปทุกอย่างนะครับ แต่จะพยายามเอาจุดเด่นของโปรแกรมมาอธิบาย เรามาชมไปพร้อมกันครับ

(อัพเดต 2013-04-29) ปัจจุบันแอพฯ Battery Doctor Pro ได้ออกรุ่นที่เป็น ภาษาอังกฤษล้วนๆมาแล้วครับ เวลาค้นก็จะเจอง่ายขึ้น ครับ
battery-doctor-pro-updated

เวลาค้นใน cydia ให้พิมพ์ BatteryDoctorPro ติดๆกันเลยนะครับ ไม่ต้องเว้นวรรค จะเจอ 2 ตัวข้างบนนี้
ตัวที่เป็น ภาษาจีน คือ รุ่นหลายภาษา ส่วนอีกตัวเป็นรุ่น ภาษาอังกฤษ อย่างเดียว
เราใช้ได้ทั้งคู่ครับ ผมลองแล้วในเครื่องคนไทยมันแสดงผลเป็นอังกฤษเหมือนกันเด๊ะๆ

battery-doctor-pro-english

เป็น App ฟรีครับไม่เสียเงินเลย, ลงใช้ได้ทั้งสองรุ่นนะครับ โปรแกรมแสดงผลเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ต้องห่วงว่าจะเป็นจีน แต่คำศัพท์บางคำผมคิดว่าเค้ายังมีใช้คำผิดๆอยู่บ้าง


เมื่อติดตั้งเสร็จเครื่องจะ respring แล้ว โปรแกรมจะเริ่มทำงานเบื้องหลังและจะเกิด icon แบบนี้ครับ

โดยปกติเราจะไม่ค่อยเปิดจอของมันมาดูครับ แต่ผมเปิดเพื่อจะได้ชมกันชัดๆหน้าจอหลักจะเป็นแบบนี้ครับ ปุ่มข้างล่างคือ Profile ครับ เพื่อเราจะได้สลับโหมดต่างๆตามความเหมาะสม เช่น นอกบ้าน/ในบ้าน/เข้านอน

แต่ละ โพรไฟล์ เราก็สามารถตั้งได้ตามสี่เหลี่ยมๆนะครับ เช่นโปรไพล์ตอนนอน เราไม่ต้องการรับสาย เราก็เปิด Flight Mode ปิด location เป็นต้น

จุดที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือ มันมี Widgets โดยจะมี

  • Profile Switcher : แตะเพื่อเปลี่ยนโพรไฟล์ที่เราตั้งไว้
  • % RAM : แสดง memory ที่กำลังใช้อยู่ และถ้าแตะตรงนี้โปรแกรมจะ ปิดทุกๆ program ใน task list ในครั้งเดียวเลย สุดยอด
  • Toggle Function : ตรงนี้เป็น ชุด ปุ่ม เปิด/ปิด ตั้งค่า functions ต่างๆของเครื่อง (เหมือน NCSettings หรือ SBSettings)
  • Multitasking List : iOS Task List ถูกยกมาไว้ตรงนี้ด้วย

และอีกอย่างหนึ่งคือ Widget ชุด นี้ จะมีอยู่นอก Notification Center ด้วย คือเพียงแค่แตะตรง รูปแบต ที่มุมขวาด้านบน แล้ว Wedget ชุดนี้จะแสดงออกมา สะดวกสุดๆ

ทำให้เราง่ายมากๆในการใช้งาน ตรงจุดนี้ผมคิดว่า หลายคนที่ใช้ NCSettings อาจจะลบทิ้งแล้วมาใช้ Battery Doctor อันนี้แทนไปเลย เช่นผม.
สังเกตุที่ toggle นะครับ ผมเอาปุ่ม Home มาวางไว้ด้วย ทำให้ผมแทบไม่ต้องกดปุ่ม home เลยครับ (ช่วยแก้ไขสำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องปุ่ม home กดยาก)

(อัพเดต 2013-07-01) รุ่นล่าสุด ที่ multitask list เราสามารถ ลาก icon ลงเพื่อ end task (ไม่ต้องกดค้างแล้วกดลบ อีกต่อไป) และ สามารถลากขึ้น เพื่อให้ app มันอยู่ใน white list ได้ด้วย (เวลา kill all มันจะไม่ kill ตัวที่อยู่ใน white list) นะครับ สะดวก สุดๆ

Cydia_Bettery_Doctor_Pro_Review-24
เมนูสำหรับการตั้งค่า ต่างๆในระบบ จะซ่อนอยู่ที่ปุ่ม รูปขีดๆ มุมซ้ายบนครับ เมื่อกดแล้วจะเห็น เมนูตามนี้
ในแต่ละ version อาจจะ มีเปลี่ยนแปลงไปบ้างครับ

การตั้งค่าต่างๆเกี่ยวกับ ระบบแสดงผลครับ เช่น จะให้แสดงเมื่อตอน แตะนาฬิกาใน status bar หรือไม่ หรือแสดงที่ Notification Center ด้วยหรือไม่?

เราสามารถตั้งค่า Widget ได้ เช่น ให้แสดง toggles 2 แถว หรือ ไม่แสดง Multitasking list เป็นต้น

เราสามารถจัดเรียงลำดับ toggles ต่างๆได้ โดยมี Toggles ต่างๆดังภาพครับ

Toggles อื่นๆครับ เยอะมาก ทั้งปุ่ม 3G / Wi-Fi / DATA / Airplane Mode / Locations Service / Do not disturb (ไม่ให้มีเสียงเตือนรบกวน) / Home / VPN / จับภาพหน้าจอ / แสงสว่าง / การหมุนจอ / ล๊อกจออัตโนมัติ / Personal HotSpot / เคลียร์ Badge (ตัวเลขจำนวนเตือนมุม icons) / แก้ icons ขาว / เคลียร์ เมโมรี่

เรียกได้ว่า ทดแทน nc settings ได้หมดเลยครับ เพียงแต่เปลียน Theme/Skin ไม่ได้

Functions การทำงานโปรแกรมนี้ เยอะแยะจริงๆ ผมเองยังใช้ไม่หมดครับ หน้านี้คือ Power Saving ที่จะทำงานอัตโนมัติเมื่อแบตเราใกล้หมด เช่น ช่วย Kill Apps ต่างๆที่เปิดทิ้งไว้ โดยอัตโนมัติหลัง sleep mode อันนี้ผมแนะนำครับเพราะมันเหมือนช่วยเรา เคลียร์เมมโมรี่ไว้ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา หรือบังคับให้ปิด 3G แล้วเปิดเป็น EDGE แทนเมื่อ sleep mode ซึ่งช่วยประหยัดแบต (แต่ผมคิดว่าใน IOS มันมีปัญหาช้าๆตอนสลับ EDGE เป็น 3G ดังนั้นคุณอาจจะพบปัญหาได้ถ้าเปิดจอแล้วใช้เน็ตทันที เพราะ IOS ต้องใช้เวลาสักครู่ก่อนจะสลับเป็น 3G อย่างสมบูรณ์พร้อมใช้)

เริ่มเข้าไกล้ หน้าจอที่สำคัญตามชื่อของโปรแกรมนะครับ หน้านี้คือ ประวัติ ที่เกี่ยวกับการชาร์จแบตของเราครับ

  • Full Cycle : คือเป็นการชาร์จแบบครั้งเดียวครบรอบ (ใช้งานจนเหลือต่ำกว่า 20% แล้วชาร์จจนเต็มในครั้งเดียว) ซึ่งตามคู่มือแบตของ Apple ก็บอกไว้ว่า ควรทำ Full cycle อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ สารเคมีในแบตเกิดการเคลื่อนที่จะได้ลดความเสี่ยงในการที่แบตจะเสื่อม (หาอ่านได้จาก เวป Apple เลยครับ)
  • Partial Cycle : คือการ ชาร์จที่แบตยังไม่ใกล้หมด ก็เป็นการชาร์จตามปกติๆทั่วไป
  • Overchage : คือการชาร์จแบบ เต็มแล้วยังเสียบ สาย Adapter ปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ (มีโอกาสทำให้แบตเสื่อมเร็วกว่าปกติ, ข้อมูลนี้ไม่มีที่ยืนยันครับเพราะผมก็ชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืนทุกครั้ง)

 

เราสามารถดูได้ด้วยว่า App ไหน กินไฟเยอะหรือน้อย ในตอนใช้งาน ดูจากภาพ ไอ้ App แรก ใช้เพียง 37วินาทีแต่กินแบตไปถึง 11mAh เลยทีเดียว ผมจึงลบไปละ หาตัวอื่นแทน
(เพิ่มเติม 2013-05-16) ในรุ่นใหม่ๆจะดูยากกว่านี้แล้วครับ เราต้องกดเข้าไปดูแต่ละโปรแกรมเอาเองถึงจะเห็นอัตราการกินแบต
(เพิ่มเติม 2013-07-02) ในรุ่นใหม่ล่าสุด เค้าเอาหน้ารวมอัตราการบริโภคแบต นี้กลับมาแล้วครับ

สถิติโปรแกรมที่เราใช้งานบ่อยๆ


โปรแกรมที่เปิดทำงานใน background บ่อยๆ

มาถึงจุดสำคัญที่สุดคือ การชาร์จครับ เมื่อเราเสียบชาร์จ จะมีข้อมูลเพิ่มที่หน้า Lock Screen ใต้รูปแบต ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไหร่จึงเสร็จ
สังเกตุว่า ดูเหมือนมันจะนานกว่าปกติ เดี๋ยวจะอธิบายในภาพถัดๆไปครับ

เมื่อเราเข้ามาดูที่โปรแกรม ขณะที่เราทำการเสียบสายชาร์จ โปรแกรมจะบอก Step การชาร์จไว้ว่า

  • High Speed : ระบบ iOS จะทำการชาร์จแบบเร็วไปจนถึงระดับ 80% ของความจุแบต เราอาจจะรู้สึกว่าช่วงนี้แบตเราจะร้อนนิดนึง
  • Continuation : ระบบ iOS จะชาร์จใน Speed ที่ต่ำลงหลังจาก 80% – 100% เพื่อลดความร้อนของแบต และเป็นการยืดอายุแบต
  • Tickle : อันนี้เป็นของ App เอง ที่เมื่อแบตเต็ม 100% แล้ว ก็ยังอาจจะมีการคลายประจุอยู่เล็กน้อย App นี้จึงยังคงปล่อยให้ประจุเข้าไปอีกแบบช้าๆมากๆ เพื่อจะได้เต็มจริงๆ คล้ายเติมน้ำมันจนเต็มถังแล้ว แต่ถ้าเราเขย่ารถไล่อากาศออกหรือรอสักพักมันก็ยังพอมีช่องว่างให้เราเติมได้อีกเล็กน้อย พนักงานก็กดหัวจ่ายเติมได้ทีละนิดๆ (ข้อมูลตรงนี้ ถ้าเป็น Ni-Cd และ Ni-Mh คงมีความหมาย แต่ สำหรับ Lithium แล้วจากหายแหล่งบอกว่าไม่น่าจะมีผลครับ) แต่ผมคิดว่าอาจจะมีผลดีก็ได้ครับ

ภาพนี้แสดงให้เป็นขั้นตอน กำลังชาร์จแบบ trickle ครับ จะเห็นว่า แบตเต็ม 100% ไปแล้ว แต่ แอป ยังคงแสดงว่ากำลังทำ tickle อยู่อีก ทั้งหมดประมาณ 40 นาที ถ้าเราไม่รีบใช้ก็ปล่อยให้มันเสร็จไปครับ


มาดูหน้า System Informatin กันครับ มันแสดงข้อมูลโดยสรุปสถานะของเครื่องเรา

Graph ที่เห็นคือ ประสิทธิภาพความจุสูงสุดของแบตเราครับ Apple Iphone 4 ของใหม่แกะกล่อง ออกแบบมาที่ 1420mAh เมื่อใช้งานไปนานๆความจุสูงสุดก็จะลดลงๆไปจนกระทั่งเสื่อม, ความจุเป็นตัวบ่งบอกว่าแบตเรายังดีอยู่หรือไม่ หรือ เรายังคงเหลือแบตให้ใช้งานได้อยู่เท่าไหร่, ความจุมันก็มีขึ้นมีลงทีละเล็กละน้อยนะครับ เหมือนเล่นหุ้น ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานและชาร์จ.

จุดสำคัญเกี่ยวกับ แบตอีกจุด คือ Cycle ครับ เครื่องผมใช้งานมาแล้วถึง 435 cycles ซึ่งมันคงจะใกล้ๆแล้ว
Cycle (รอบการชาร์จ) ใน แบต lithium ไม่ได้หมายถึง จำนวนครั้งในการชาร์จนะครับแต่มันหมายถึงการใช้งาน battery เช่น จาก 100% เราใช้ไป 20% เหลือ 80% แล้ว ชาร์จ cycle ยังไม่ขึ้นนะครับ (มันแค่ 0.2 รอบ) เพราะเรายังใช้ไม่ครบ 100% (1 รอบ) แต่ถ้าเราใช้ครั้งต่อไปอีก 80% แล้วชาร์จจนเต็ม อันนี้ถือว่าครบ 1 cycle แล้ว (20% + 80%)
ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า Li-Ion จะใช้ได้ประมาณ 300-500 รอบ ก็จะเสื่อมครับ (สมัยก่อนผมใช้ โนเกีย ระบุไว้ 300 รอบ หรือ 2 ปี ก็จะเสื่อมสภาพ)

นี่เป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนคงมองผ่านๆไป แต่มันยอดเยี่ยมมากครับ เพราะ
“แบตเตอรี่ ด๊อกเตอร์ โปร” นี้คงเป็นแอปพลิเคชั่น เดียวในตอนที่ผมเขียนบทความนี้ ที่แสดงให้เราเห็นด้วยว่า อุปกรณ์สำหรับชาร์จเรายังดีอยู่หรือไม่ โดยดูจาก ค่าสองตัวครับ

คือ Amperage และ Voltage ซึ่งจะเป็นค่าแสดงขณะที่เราเสียบชาร์จอยู่ (ภาพบน ผมยังไม่เสียบอะไร) เดี๋ยวผมจะลอง ชาร์จจาก 3 แบบดูครับ

ภาพขณะผมเสียบ USB เข้ากับ PC ครับ / Amp = 0.5 A (500mAh) และ Voltage = 3.91v
นึ่คือเหตุผลว่า เหตุใด การเสียบสาย PC แบตจึงเต็มช้ากว่า เสียบกับ Adapter
และแสดงให้เห็นว่า Port USB ของเครื่อง PC ผมให้กำลังไฟได้ถูกต้อง ตาม Spec ของ USB ที่กำหนดไว้ 500mAh 5.0Volt
สายชาร์จของ apple หรือวงจรการรับไฟเข้า คงมีการปรับ volt ให้เหลือประมาณ 4 Volt
แบต Li-Ion output คือ 3.7 Volt, การจะชาร์จไฟเข้าจะต้องประมาณ 4-5 Volt


ภาพนี้ผมเสียบ Adapter แท้ที่มากับเครื่องครับ 1A (1000mAh) เป๊ะๆ 4.14-4.2Volt ตามสเป๊ค

ภาพสุดท้ายครับ อันนี้ผมใช้ Apple 12W USB Power Adapter ของแท้ กับสาย 3 เมตรครับ ไฟมาเต็มๆจริงๆครับ 2.4A ที่ 4.2Volt ตามสเปคของหม้อแปลง
ทำให้ทราบว่าไฟเข้ามาเต็มเม็ดเต็มหน่วย แม้ใช้สายยาวกว่ามาตรฐาน, ถ้าผมเอาสาย 3 เมตรมาเสียบ PC มันจะไฟเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง sync ได้บ้างไม่ได้บ้าง

ถ้าคุณพบว่า เมื่อคุณเสียแล้ว Amperage กับ Voltage ไฟเข้าไม่นิ่ง อย่านิ่งนอนใจครับ ควรต้องได้รับการแก้ไข เดี๋ยวแบตเสื่อมเร็วกว่าปกติ
————–

สรุปนะครับ
ข้อดี

  • ฟรี
  • ทำให้ max capacity ของ แบตเราดีขึ้นได้ (อันนี้ไม่ทราบว่า แอปนี้ใช้วิธีอะไร เพราะใช้ Trickle charge หรือไม่? แต่ผมเอาโปรแกรมอื่นตรวจดูเผื่อมันหลอกเรา ก็ให้ข้อมูลความจุที่ดีขึ้นจริงๆ)
  • ใช้งานง่ายมาก โดยเฉพาะ Widget ที่สามารถใช้แทน App Toggles ต่างๆได้ มีปุ่มมาครบครันเลยทีเดียว
  • มี Multitasking list ที่ widget เราจึงไม่ต้อง และ มี Toggle ปุ่ม home  ด้วย ทำให้เราแทบไม่ต้องกด ปุ่ม home เลย แถมยังอาจจะไม่ต้องใช้ Assistive Touch ให้รำคาญสายตาด้วย
  • สามารถ แตะทีเดียว End task ใน Multitasking list ทั้งหมดได้เลย, และโปรแกรมยังทำ การ เคลียร์ memory ไม่ได้ใช้แล้วให้เราอีกด้วย
  • ฟังก์ชั่นการทำงาน มากมาย ครบถ้วน
  • สามารถ ดู แอมป์/โวล์ท ของ input ขณะชาร์จได้ ทำให้รู้ว่า อุปกรณ์ชุดชาร์จ อาจจะมีปัญหาหรือไม่

ข้อเสีย

  • ต้องเป็นเครื่อง เจลเบรค เท่านั้น (ไม่เชิงข้อเสียนะ)
  • การจัดเมนู ยังดูงงๆ  ต้องใช้เวลานานหน่อยกว่าจะจำได้ว่า อะไรอยู่หน้าไหน
  • ยังมี bug บ้าง (รุ่นที่ผมใช้ในวันที่ทำรีวิวนี้) บางครั้งกด ที่ รูปแบตตรง status bar แล้ว widget ไม่แสดงเลย ต้อง respring ถึงจะหาย

 

โดยรวม :
สำหรับคนที่เจลแล้ว ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งมวลครับ คุณจะต้องร้อง WoW กันเลยทีเดียวครับ ผมจึงขอให้ 10 เต็ม 10 คะแนน

 

ทิปเรื่องการชาร์จแบต :
สำหรับการชาร์จแบตของอุปกรณ์ที่เป็น Li-iOn (ลิเทียม-ไอออน) หรือ Li-Po (ลิเทียม-โพลิเมอร์) ซึ่งอุปกรณ์ พกพา/มือถือ/โน๊ตบุค/แทบเล็ต ใช้อยู่ในปัจุบัน

– ไม่ควรใช้ Adapter กับสายชาร์จ ไม่มีที่มา เพราะอาจจะเกิดปัญหา ไฟไม่นิ่ง ชาร์จเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง หรือ ไหม้ระเบิด ก็มีมาแล้ว (Adapter แท้ของแต่ละยี่ห้อมือถือ ราคาไม่แพงแล้วครับ)

– ชาร์จเมื่อมีพลังงานเหลือเท่าไหร่ก็ได้ แต่เวลาเสียบชาร์จแล้วควรปล่อยให้ชาร์จจนเต็ม 100% ไปเลยในทีเดียว

– ทุกๆ เดือน อย่างน้อยให้ทำการชาร์จ Full Cycle 1 ครั้ง. (ใช้ให้แบตเหลือน้อยกว่า 10-20% แล้วชาร์จจนเต็ม)

– เมื่อชาร์จเต็มแล้ว ไม่ควรเสียบสายชาร์จ ทิ้งไว้นานๆ ถ้าไม่จำเป็น

 


ปล. ผู้พัฒนาเขามีทำ version สำหรับ เครื่องที่ไม่เจลด้วย แต่มันเหมือนคนละแอปกันเลยครับ เพราะถ้ายังไม่เจลจะทำหลายอย่างแบบรุ่นนี้ไม่ได้
ใครอยากลอง ไปหาใน App Store ได้ครับ ชื่อ “Battery Doctor” หาอันที่ icon รูปเดียวกันนี้เลยนะครับ. ใช้งานพอได้ครับเท่าที่เครื่องยังไม่เจลจะยอมให้ทำ
เพราะผมก็ใช้มาตลอดก่อนที่เค้าจะออกรุ่นโปร ใน cydia นี้

รีวิวอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

อีโวโพลิส
Author: อีโวโพลิส

1 thought on “Battery Doctor Pro (Cydia App) iOS App – สุดยอด แอพฯ จัดการ แบตเตอรี่ บน iOS (เจลเบรค)

ส่งความเห็นที่ อีโวโพลิส ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *